BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4

การแบ่ง Partition เบื้องต้น

การแบ่ง Partition เบื้องต้น

    Program ที่ใช้สำหรับแบ่ง Partition มีอยู่หลายตัวมากๆครับ แล้วแต่ว่าใครจะถนัดใช้ตัวไหน ผมเอามาสอนเท่าที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ (ส่วนใหญ่ผมจะใช้จากแผ่น Hiren นะครับ)
            ก่อนจะมารู้จักการใช้โปรแกรมต่างๆ ขออธิบายเรื่องของPartitionซักนิดนึงนะครับ
    การแบ่งPartitionก็คือการแบ่งพื้นที่ HDD ออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของเราครับ โดยจะมีชื่อเรียกพื้นที่ต่างๆ คือ
  1. Primary จะใช้เก็บ OS หรือ Windows ครับ
  2. Extended เป็นพื้นที่ๆเหลือจาก Primary และจะคลอบคลุมพื้นที่ Logical
  3. Logical จะเป็นพื้นที่ภายใต้ Extended และจะถูกแบ่งออกเป็น Drive ย่อยๆเช่น D:, E:, F:
ประโยชน์ของการแบ่ง Partition ก็เพื่อใช้เก็บข้อมูลสำคัญต่างๆออกจาก OS เพื่อความปลอดภัยจาก virus ได้ในระดับนึงครับ เพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ windows ด้วยครับ
    Program ที่จะใช้สอนมีดังนี้

 

Norton PartitionMagic Pro Server 8.05

การแบ่ง Partition มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้ใช้ mouse คลิกตรง C: เพื่อทำการสร้าง Partition หรือจะคลิกขวา ตรงแถบสีเทาก็ได้โดยเลือก Create

พอได้ดังรูปก็เลือก Create as ให้เป็น Primary ก่อนนะครับ ส่วน type จะเลือกเป็น FAT32 หรือ NTFS ก็ได้ label จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ แล้วกด OK

จะได้ดังรูปครับ คราวนี้สังเกตุตรงสัญลัญลักษณ์ลูกศรซ้ายขวานะครับ ตรงนี้คือเครื่องมือของการปรับเปลี่ยนขนาดของ Partition ให้คลิกตรงนี้ครับ

แล้วเราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามต้องการแล้วนะครับ เมื่อพอใจในขนาดก็กด OK

จะได้ดังรูปครับ

พอได้ดังรูปก็เลือก Create as ให้เป็น Logical นะครับ ส่วน type จะเลือกเป็น FAT32 หรือ NTFS ก็ได้ label จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ แล้วกด OK

ขั้นตอนที่ พอได้ Partition ที่เราต้องการก็กด Apply

จะได้ดังรูปครับ การสร้าง Partition ก็ถือว่าเสร็จสมบูรณ์แล้วครับ

การลบ Partition

  1. เลือก Partition ที่ต้องการจะลบ

พิมพ์ OK ลงไปแล้วกด OK

 

แล้วกด Apply ก็จะลบ Partition ได้แล้วครับ

 

 

 

 Paragon Partition Manager

ผมเคยทำบทความเรื่องการจัดการฮาร์ดดิสใหม่ และแบ่งพาทิชั่น ด้วย Partition Magic ไปแล้ว

แต่เนื่องจาก Partition Magic หยุดพัฒนามานานแล้วครับ ทำให้อาจจะมีปัญหากับฮาร์ดดิสรุ่นใหม่ๆอยู่บ้าง

วันนี้ก็เลยมาแนะนำการใช้งานโปรแกรมจัดการพาทิชั่นของ Paragon Partition Manager นะครับ


จากตัวอย่างขอใช้ Hiren Boot เพราะเป็นแผ่นบูทสารพัดประโยชน์ที่หาได้ง่ายที่สุด

เมื่อตั้งให้บูทแผ่นจากซีดีแล้วก็เลือกเข้าหัวข้อ Partition Tools...แล้วเลือก Paragon Partition Manager






ในที่นี้จะพูดถึง ฮาร์ดดิสเปล่า ที่ไม่เคยถูกแบ่งพาทิชั่นมาเลยนะครับ จะเห็นตามรูป

จากตัวอย่างจะแบ่งเป็น 2 พาทิชั่น คือ C: และ D:




จะเริ่มสร้างพาทิชั่นแรกก่อนครับ ให้คลิกขวาที่คำว่า Free แล้วเลือก Create...




กำหนดขนาดของพาทิชั่นแรกที่ต้องการ เลือกเป็น Primary



รูปแบบของพาทิชั่นเลือกเป็น NTFS คลิก OK >Yes






ก็จะได้พาทิชั่นแรกมาแล้วครับ ตามรูป




ต่อไปจะสร้างพาทิชั่นที่สอง ให้คลิกขวาที่คำว่า Free แล้วเลือก Create...




ต้องเลือกรูปแบบของพาทิชั่นเป็น Extended ก่อนนะครับ แล้วคลิก OK




จะได้พื้นที่ของพาทิชั่นที่เราจะสร้างต่อไป




มาทำด้านล่างละกันจะได้ไม่ งง ให้คลิกขวาที่ Logical แล้วเลือก Create...




เลือกรูปแบบของพาทิชั่นเป็น Logical >NTFS 








ทีนี้ก็จะได้ฮาร์ดดิสเปล่า ที่ถูกแบ่ง 2 พาทิชั่นแล้วนะครับ




ขั้นตอนต่อไปก็ต้องเซทให้พาทิชั่นแรกบูตได้ก่อน คลิกขวาที่ Primary >Modifily >Set active






จากนั้นคลิก Apply changes... เพื่อให้โปรแกรมจัดการค่าทั้งหมดที่เรากำหนดเอาไว้








เสร็จแล้วก็คลิกที่ General >Exit 




เป็นอันเสร็จขั้นตอนการจัดการฮาร์ดดิสใหม่ และแบ่งพาทิชั่น ด้วย Paragon Partition Manager แล้วครับ