Home กฏหมานน่ารู้ ภาค 3 ลหุโทษ

ภาค 3 ลหุโทษ

อีเมล พิมพ์ PDF

 


Topมาตรา 367 ผู้ใดเมื่อเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่เพื่อปฏิบัติการ ตามกฎหมายไม่ยอมบอกหรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
Topมาตรา 368 ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจ ที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการสั่งเช่นว่านั้นเป็นคำสั่ง ให้ช่วยทำกิจการในหน้าที่ของเจ้า พนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้สั่งให้ช่วยได้ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 369 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประกาศ ภาพ โฆษณา หรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือ แสดงไว้ หรือสั่งให้ปิด หรือแสดงไว้ หลุด ฉีกหรือไร้ประโยชน์ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อนต้อง ระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
Topมาตรา 371 ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณโดย เปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มี ขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
Topมาตรา 372 ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณ หรือ สาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อย ในทางสาธารณ หรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 373 ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้ บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยวไปโดยลำพัง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท
Topมาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจ ช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความ จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 375 ผู้ใดทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำหรือท่อระบายของ โสโครกอันเป็นสิ่งสาธารณเกิดขัดข้องหรือไม่สะดวก ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 376 ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้ สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 378 ผู้ใดเสพย์สุราหรือของเมาอย่างอื่น จนเป็นเหตุให้ตน เมา ประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณ หรือ สาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 379 ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 380 ผู้ใดทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระหรือที่ขังน้ำ อันมีไว้สำหรับประชาชนใช้สอย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่ไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้ รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 382 ผู้ใดใช้ให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงาน อันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นป่วยเจ็บ ชราหรืออ่อนอายุ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 383 ผู้ใดเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือสาธารณภัยอื่นและเจ้า พนักงานเรียกให้ช่วยระงับ ถ้าผู้นั้นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 384 ผู้ใดแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุ ให้ประชาชนตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 385 ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีด ขวางทางสาธารณ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความ สะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วย ประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้น เป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 386 ผู้ใดขุดหลุมหรือราง หรือปลูกปักหรือวางสิ่งของ เกะกะไว้ในทางสาธารณ โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย หรือทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ละเลยไม่แสดงสัญญาณตาม สมควร เพื่อป้องกันอุปัทวเหตุ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 387 ผู้ใดแขวน ติดตั้งหรือวางสิ่งใดไว้โดยประการที่น่า จะตกหรือพังลง ซึ่งจะเป็นเหตุอันตราย เปรอะเปื้อนหรือเดือดร้อน แก่ผู้สัญจรในทางสาธารณ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 388 ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 389 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของแข็งตกลง ณ ที่ใด ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นอันตรายหรือเดือดร้อนรำคาญแก่ บุคคล หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของโสโครก เปรอะเปื้อนหรือน่าจะเปรอะเปื้อนตัวบุคคล หรือ ทรัพย์หรือแกล้งทำให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 392 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการ ขู่เข็ญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 393 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
Topมาตรา 394 ผู้ใดไล่ ต้อนหรือทำให้สัตว์ใด ๆ เข้าในสวนไร่หรือ นาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 395 ผู้ใดควบคุมสัตว์ใด ๆ ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้น เข้าในสวน ไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมี พืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 396 ผู้ใดทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็น ในหรือริมทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
Topมาตรา 397 ผู้ใดในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลกระทำ ด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นหรือกระทำให้ผู้อื่น ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Topมาตรา 398 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทารุณ ต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ซึ่งต้องพึ่ง ผู้นั้นในการดำรงชีพหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 398 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2530

อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.พ.ศ. 2502
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ การกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ย่อมส่งผลเสียหายร้ายแรงแก่รัฐและประชาชน โทษสำหรับการกระทำความผิดเหล่านี้ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายปัจจุบันยังมีอัตราต่ำกว่าควร สมควร แก้ไขเพิ่มเติมให้สูงขึ้น และกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าวนี้ให้ ได้ผลดียิ่งขึ้นต่อไป
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปราก ฏว่าขณะนี้มี ผู้ร้ายลอบลักเอาพระพุทธรูปอันล้ำค่าซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของพุทธ ศาสนิกชน และมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ตามวัดวาอารามและพิพิธภัณฑสถานไปเป็นจำนวนมาก บางแห่งเป็น พระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของแต่ละจังหวัดซึ่งทำให้ประชาชนในถิ่นนั้นเศร้าสลดใจในต่อการขาดวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งที่เคารพ บูชาในทางพุทธศาสนาไปอย่างมาก ยิ่งกว่านั้นบางแห่งการลอบลักพระพุทธรูปนั้นได้กระทำการแสดงถึง ความโหดร้ายทารุณ ไร้ศีลธรรมอย่างหนัก เช่น ตัดเอาเศียรพระพุทธรูปไปคงเหลือแต่องค์พระ นับว่าเป็นการ เสื่อมเสียแก่ชาติบ้าน เมืองและเป็นผลเสียหายแก่พุทธศาสนา โดยไม่นึกถึงศาสนสมบัติของชาติ บุคคลประเภทนี้สมควรจะได้รับ โทษหนักกว่าการกระทำต่อ ทรัพย์สินธรรมดาของส่วนบุคคลรวมทั้งผู้รับของโจร และผู้ส่งออก ต่างประเทศด้วย จะอาศัยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเดิมโทษก็เบามาก ไม่เป็นการป้องกันได้เพียงพอ โดยเหตุนี้จึงเป็นการสมควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับ เรื่องนี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและรักษาไว้ซึ่งทรัพย์อันล้ำค่าของชาตินี้มิให้มีการลอบ ลักเอาไปต่างประ เทศเสียหมดก่อนที่จะสายเกินไป
อ่านประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514
โดยที่คณะปฏิวัติมีความปรารถนา จะให้ประชาชนได้รับความสงบสุขและปลอดภัยจากอาชญากรรม ในการนี้คณะปฏิวัติเห็นว่า อัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดบาง ประเภท ตามประมวลกฎหมายอาญา ยังไม่เพียงพอแก่การป้องกันและปราบปราม สมควรแก้ไขให้สูงขึ้นเพื่อ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการ สมควรปรับปรุง จำนวนเงินที่ถือเป็นอัตราในการกักขังแทนค่าปรับให้เหมาะสมกับ สภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519
โดยที่ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พิจารณาเห็นว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดเกี่ยวกับการ หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศเจ้าพนักงาน ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ ศาลหรือผู้พิพากษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนการกระทำอื่น เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี หรือการกระทำอันเป็นการเหยียด หยามศาสนา และความผิดเกี่ยวกับต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการ ตามหน้าที่ หรือขัดขวางการพิจารณา หรือพิพากษาของศาล ไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขอัตราโทษเหล่านั้นให้สูงขึ้น
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2522
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบัน ได้มีการขายของโดย หลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จเพิ่มมากขึ้น และความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่อาจ ดำเนินการฟ้องร้องผู้กระทำความผิดโดยไม่มีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายได้ แม้จะปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีการเสนอ ขายของดังกล่าว แก่บุคคลทั่วไปในร้าน ค้าหรือที่สาธารณะ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้าที่จะจับกุมผู้เสนอขายโดยไม่มีผู้หนึ่ง ผู้ใดร้องทุกข์เสียก่อน การปราบปรามการกระทำผิดฐานนี้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 271 เสียใหม่โดยให้ความผิดตามมาตราดังกล่าวไม่เป็นความผิดอันยอมความ ได้เพื่อให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย และสมควรเพิ่มโทษ สำหรับความผิดฐานนี้ให้ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้กระทำความผิดเกรงกลัว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2525
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันอาชญากรรมบาง ประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศและความผิดต่อเสรีภาพได้ทวีความรุนแรง และความผิดฐานลักทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูป และโคหรือกระบือของผู้มีอาชีพกสิกรรมมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความผิดเหล่านี้ในบางกรณีได้ มีการเพิ่มอัตรา โทษมาครั้งหนึ่งแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ในการนี้สมควรเพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้กระทำความผิดให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 และ มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 มิได้กำหนดโทษจำคุกขั้นสูงในกรณีที่มีการเพิ่มโทษและ เรียงกระทงลงโทษไว้ ทั้งในกรณีความผิดที่มีโทษจำคุกตลอดชีวิตยังกำหนดให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็น โทษจำคุกห้าสิบปีเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มโทษหรือเรียงกระทงลงโทษ แล้วแต่กรณีอีกด้วย ในบางคดีโทษจำคุกที่มีการเพิ่มโทษหรือโทษจำคุกรวมของการเรียง กระทงลงโทษจึงสูงเกิน สมควรหรือไม่ได้สัดส่วนกับความผิดที่มีลักษณะและผลร้ายแรงต่างกัน ทำให้การลงโทษเป็นไปโดยไม่เป็นธรรมและไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบท บัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวโดยกำหนดขั้นสูงของโทษจำคุกในกรณีที่มีการเพิ่มโทษ และโทษจำคุกรวมในกรณีเรียงกระทงลงโทษ เพื่อให้การลงโทษเป็นไปด้วยความเป็น ธรรมและได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าในปัจจุบัน อาชญากรรมบางประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เป็นความผิด ฐานลักทรัพย์เกี่ยวกับโค กระบือ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ หรือเครื่องจักรกลของเกษตรกรได้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน เดือดร้อนที่สุด เพราะเมื่อ ถึงฤดูกาลทำนาหรือ เพาะปลูกเกษตรกรไม่สามารถหาโค กระบือ หรือจักรกลต่างๆ มาทำการเพาะ ปลูกได้ทันตามฤดูกาล แม้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะได้คอยสอดส่องดูแล อยู่ตลอดเวลาและจับกุม ผู้กระทำความ ผิดมาลงโทษเป็นจำนวนมากรายแล้วก็ตาม แต่ไม่ทำให้ผู้กระทำความผิดหลาบจำหรือเกรงกลัวอาญาแผ่นดิน ทั้งนี้เพราะ กฎหมายกำหนด โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ต่ำ สมควรเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดให้สูงขึ้น เพื่อให้เป็นที่หลาบจำ และเกรงกลัวต่ออาญาแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ขึ้น
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 มาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 282มาตรา 283 มาตรา 313 มาตรา 317 มาตรา 318 มาตรา 319 และ มาตรา 398 กำหนดอายุเด็กที่จะได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษตามกฎหมายจากการ กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและการกระทำทารุณต่อเด็กไว้เพียง อายุไม่เกินสิบสามปีเท่านั้น ผู้กระทำผิดตามบทมาตรา ดังกล่าวจึงสามารถอ้างความยินยอมของเด็ก อายุกว่าสิบสามปีขึ้น เป็นเหตุยกเว้นความผิดหรือบรรเทาโทษตามกฎหมายได้ นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแสวงประโยชน์ในทางมิชอบจากเด็กอายุ ระหว่างสิบสามปีถึงสิบห้าปี ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีความเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านต่างๆ เช่น ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การศึกษาอบรมและประสบการณ์ไม่เพียงพอได้ นอกจากนี้บทบัญญัติเกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งหญิง เพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นใน กฎหมายปัจจุบันนั้น มาตรา 282 จะเป็นความผิดต่อเมื่อได้กระทำต่อหญิงอายุไม่เกินสิบแปดปีทำให้หญิงได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดไม่ว่าหญิง จะมีอายุเท่าใดก็ตาม จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2530
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราการกักขังแทนค่าปรับต่อวัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ใช้บังคับ อยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดปัญหาผู้ต้องขังแออัดห้องขังอันเป็นภาระแก่เจ้าหน้าที่ในการควบคุม ตลอดจนเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐเป็นจำนวนมากในการเลี้ยงดูผู้ต้องขัง สมควรปรับปรุงอัตราการกักขังแทนค่าปรับต่อวันเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2532
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่การกำหนดเงื่อนไขเพื่อ คุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดที่ศาลพิพากษาให้รอการกำหนดโทษไว้หรือรอการ ลงโทษไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา ในปัจจุบันนั้น ยังไม่เหมาะสมแก่การแก้ไขให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวได้อย่างได้ผลดี สมควรปรับปรุงเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดใน กรณีดังกล่าวให้มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น เพื่อที่ศาลจะสามารถใช้ดุลพินิจได้โดยเหมาะสมแก่กรณี นอกจากนี้เพื่อให้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดให้นำโทษของผู้กระทำความ ผิดที่ถูกคุมความประพฤติในคดีที่รอการกำหนดโทษไว้ หรือรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษ ในคดีหลังของผู้กระทำความผิดผู้นั้นด้วย บังเกิดผลในการใช้บังคับตามความประสงค์อย่างแท้จริง สมควรกำหนดให้ศาลนำโทษที่รอไว้ ดังกล่าวมาบวกกับโทษในคดีหลัง โดยให้ศาลกระทำได้ไม่ว่าเมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของพนัก งานอัยการหรือพนักงานควบคุมความประพฤติ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบันมีผู้กระทำความ ผิดฐานหมิ่นประมาทมากขึ้น ขณะเดียวกันบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราโทษที่ใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดไม่เหมาะสมกับสภาว การณ์จึงทำให้ผู้กระทำความผิดดังกล่าวไม่เกรงกลัว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษให้สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2535
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการรับฝากเงินโดยวิธี ออกบัตรเงินฝากโดยธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ รวมตลอดถึงบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบัตรเงินฝากดังกล่าวเป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ สมควรกำหนดมาตรการป้องกันการปลอมตราสารดังกล่าวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมซึ่งอาจ เกิดความเสียหายจากการใช้บัตรเงินฝากปลอม จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้ได้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2537
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าได้มีการล่อลวง เด็กไปทำงานในโรงงานและเจ้าของโรงงานได้หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเด็กเหล่านั้นโดยให้ทำงาน อย่างไร้มนุษยธรรม และฝ่าฝืนมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนความสงบสุขในสังคม สมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าว เป็นความผิดฐานใหม่ขึ้นเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2540
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้ปรากฏว่ามีการกระทำความผิด ต่อหญิงและเด็กโดยการซื้อ ขาย จำหน่าย พา หรือจัดหาหญิงหรือเด็กนั้นไปด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อสำเร็จความใคร่ทั้งแก่ตนและผู้อื่น เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นอันมิชอบ ไม่ว่าโดยการขายเด็กให้เด็กเป็นขอทาน หรือทำงานในสภาพที่ใช้แรงงานโดยทารุณโหดร้าย สมควรกำหนดบทกำหนดความผิดใหม่ให้ครอบ คลุมการกระทำดังกล่าว นอกจากนั้นในปัจจุบันการกระทำ ดังกล่าวไม่จำกัดเฉพาะการกระทำต่อหญิงหรือเด็กหญิงเท่านั้น แต่ได้ขยายไปยังเด็กชาย และมีแนวโน้มเป็นการกระทำต่อบุคคลโดยไม่จำกัดเพศ สมควรแก้ไขฐานความผิดในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางขึ้น และสมควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 282 และ มาตรา 283 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติให้ศาลไทยมีอำนาจลงโทษการกระทำความผิดดังกล่าวแม้ จะกระทำในต่างประเทศ โดยแยกไว้เป็นเอกเทศให้เห็นเด่นชัดใน มาตรา 7 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของศาลไทยในการลงโทษ การกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นความ ผิดอาญาระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2545
มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับตั้ง แต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 3 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากในการลงโทษผู้กระทำความผิดทาง อาญามีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือ เพื่อแก้ไขให้ผู้นั้นสามารถกลับตัวเป็นพลเมืองดี ดังนั้น โทษที่ผู้กระทำความผิดควรจะได้รับจึงต้อง มีความเหมาะสมกับสภาพความผิดอย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าในปัจจุบันมีผู้ได้รับโทษปรับต้องถูกกักขังแทนค่าปรับเป็นจำนวนมากขึ้นซึ่งผู้รับโทษนั้นๆ ต้องสูญเสียอิสรภาพโดยไม่สมควรทำให้บุคคลในครอบครัวต้องเดือดร้อนและรัฐต้องรับ ภาระในการดูแลเพิ่มมากขึ้น สมควรปรับเปลี่ยนมาตรการลงโทษเสียใหม่ โดยกำหนดมาตรการให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานบริการ สังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้อีกทางหนึ่ง และในกรณีที่อาจต้องถูกกักขังอยู่นั้นบุคคลดังกล่าวสมควรได้รับความคุ้มครองมิให้ต้องถูกเปลี่ยนโ ทษจากกักขังเป็นจำคุกอันเป็นโทษที่หนักยิ่งกว่า รวมทั้งมิให้ต้องถูกคุมขังรวมกับผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูง ประกอบกับสมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราเงินใน การกักขังแทนค่าปรับให้สอดคล้องกับ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน นอกจากนี้สมควร เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจในการ รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546
มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา 4 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมรักษาการตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันบทบัญญัติ เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตและจำคุกตลอดชีวิตแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบ แปดปีตามประมวลกฎหมายอาญายังไม่สอดคล้องกับ ข้อ 6 วรรคห้า แห่งกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ที่กำหนดว่า บุคคลอายุต่ำกว่าสิบแปดปีที่กระทำความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมิได้ และ ข้อ 37 ก) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ที่กำหนดว่า จะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตที่ไม่มีโอกาสจะได้รับ การปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคี นอกจากนั้น บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับวิธีการประหารชีวิตโดยการเอาไปยิงเสีย ให้ตายยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทารุณ โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมที่รัฐไม่พึงปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดมิให้นำโทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอด ชีวิตมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้ เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปีและเพื่อเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต จากการเอาไปยิงเสียให้ตายเป็นดำเนินการฉีดสารพิษให้ตายแทน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมปอ.พ.ศ. 2546
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่ามีภัยคุกคามจากการก่อการร้ายโดยมุ่งประสงค์ต่อชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือ ทำลายทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน และทำให้เกิดความวุ่นวายในประเทศ หรือเพื่อบังคับขู่เข็ญให้รัฐบาลไทย รัฐบาลของรัฐใด หรือองค์การระหว่างประเทศ จำยอมต้องกระทำหรือละเว้นการกระทำตามที่มีการ เรียกร้องของผู้ก่อการร้าย ซึ่งการกระทำเช่นนั้นได้เกิดขึ้นในประเทศใกล้เคียงและมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นภายในประเทศอันจะมี ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง นอกจากนี้ การกระทำ ดังกล่าวยังเป็นการกระทำในลักษณะการร่วมมือกระทำความผิดระหว่างประเทศ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติ ที่ 1373 เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2001 ขอให้ทุกประเทศร่วมมือดำเนินการป้องกันและปราบปรามการ กระทำใดที่เป็นการก่อการร้าย รวมถึงการสนับสนุนทางทรัพย์สินหรือกรณีอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์ จะนำไปใช้ดำเนินการก่อการร้ายหรือ เป็นสมาชิกขององค์กรก่อการร้าย โดยเหตุที่การก่อการร้ายเป็นการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต้อง แก้ไขปัญหาให้ยุติลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอัน ที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2547
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันการใช้เอกสารวัตถุอื่นใดหรือข้อมูล ที่จัดทำขึ้นในลักษณะบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสมาร์ทการ์ด หรือบัตรอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่น หรือเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด กำลังเพิ่มปริมาณและประเภทการใช้งานอย่างแพร่หลาย และปรากฏว่าได้มีการกระทำความผิดเกี่ยว กับบัตรและลักลอบนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นมาใช้อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผู้บริโภคในวงกว้าง สมควรกำหนดความผิดอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรและ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดัง กล่าวเพื่อเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการกระทำความผิดอาญาในรูปแบบต่างๆ และให้มีอัตราโทษเหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติได้ทวีความรุนแรงและมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และได้มีการใช้ หนังสือเดินทางเป็นเครื่องมือในการกระทำดังกล่าวซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ และต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมควรขยายขอบเขตของการกระทำความผิดเกี่ยวกับ หนังสือเดินทางให้กว้างขึ้น และสมควรกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับความผิด จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับความคุ้มครอง ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่บทบัญญัติ มาตรา 276 มาตรา 277 และมาตรา 286 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นบทบัญญัติที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักการมีสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง และหลักการห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง เพศที่เคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 276 และ มาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ทำให้การอ้างถึงบทบัญญัติดังกล่าวใน มาตรา 277ทวิ และ
มาตรา 277ตรี เปลี่ยนแปลงไป กรณีจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุง การอ้างถึงบทบัญญัติดังกล่าวใน
มาตรา 277ทวิ และ มาตรา 277ตรี ให้สอดคล้องกัน จึงมีความจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
อ่านพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ.(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดเกณฑ์อายุของเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดทางอาญายังไม่เหมาะสม และยังไม่สอดคล้องกับเกณฑ์อายุของเด็กที่กำหนดในกฎหมายหลายฉบับของไทย และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ของสหประชาชาติ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการศึกษาทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีอายุระหว่างเจ็ดปีถึงสิบสองปี มีพัฒนาการด้านความคิดสติปัญญาและจริยธรรมยังไม่สมบูรณ์ ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และไม่สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้ ประกอบกับได้มีการศึกษาสถิติในการกระทำความผิดของเด็กช่วงวัยต่าง ๆ ปรากฏว่า เด็กที่มีอายุระหว่างเจ็ดปีถึงสิบสองปี มีสถิติการกระทำความผิดน้อยหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ กฎหมายของไทยหลายฉบับกำหนดเกณฑ์อายุเด็กไว้ที่อายุสิบห้าปี เช่น มาตรา 5 แห่งพรบ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อมีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ มาตรา 44 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง และ มาตรา 17 แห่งพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก แสดงให้เห็นว่าเด็กอายุสิบห้าปีกฎหมายยอมรับว่าเริ่มก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ มีความสามารถรับผิดชอบได้ ประกอบกับเด็กช่วงอายุดังกล่าวยังอยู่ในวัยเรียน สมควรได้รับโอกาสเพื่อบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าจะมารับโทษทางอาญา ในขณะเดียวกันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ของสหประชาชาติ และ พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ก็ได้กำหนดเกณฑ์อายุเด็กไว้ที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปีสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อกำหนดเกณฑ์อายุของเด็ก ในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายของไทย และอนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้

 

 
ป้ายโฆษณา

รับต่อเติมบ้าน

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 37 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2552751

RSS