คำตอบที่ได้จากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าคือ
1. ค่าพิมพ์บิล
2. ค่ารักษามิเตอร์
3. ค่าจัดส่งเอกสาร
ทีนี้มาดูความเห็นจากนักกฎหมายกันบ้างครับ
1. ครั้งแรกที่ยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า กฟฟ.เรียกเก็บค่าประกันมิเตอร์ไปแล้ว (ได้คืนต่อเมื่อมีการยกเลิกใช้ไฟฟ้า จะมีสักกี่บ้านครับที่จะยกเลิก) และเงินส่วนนี้
การไฟฟ้าเอาไปฝากเอาดอกเบี้ยใช่ไหม? (ทำไมไม่ให้ชาวบ้านทำหนังสือค้ำประกันโดยมีบัญชีเงินฝากประจำละครับดอกเบี้ยจะตกแก่ผู้ใช้มิเตอร์)
2. ค่า Ft กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นกฎหมาย ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้คือเงินการไฟฟ้าเอาไปบริหารกิจการ การไฟฟ้าอยู่แล้ว
3. การไฟฟ้า ตามกฎหมายคือ การบริการสาธารณประโยชน์เพื่อสาธารณชน รัฐบาลมีหน้าที่กำกับดูแล และบริหาร (ความหมายคือ กิจการของรัฐแม้จะขาดทุน
รัฐ คือผู้จ่ายแทน ประชาชน) เช่น การรถไฟ ขสมก (ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นเรื่องสาธารณะประโยชน์…)
คงต้องขอให้ศาลปกครอง วินิจฉัยตัดสินว่า การไฟฟ้า มีอำนาจเรียกเก็บหรือไม่ (บ้านละ 38.22 บาท/เดือน 20 ล้านบ้าน/เดือน เป็นเงินเท่าไหร่) จะได้เปิดเผยต่อสาธารณชนว่าใน 1 บิลการไฟฟ้า คือค่าอะไรบ้าง?
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยนช์ต่อส่วนรวมครับ