Who's Online

มี 2 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426

Blog

Blog

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

เชื่อว่าหลายท่านที่ใช้สมาร์ทโฟน ย่อมเคยดาวน์โหลดพวกไฟล์งาน รูป และวีดีโอ จากทาง facebook , twitter และเยอะสุดคือ LINE หรือไม่ก็ facebook Messenger จนพื้นที่ความจำบนเครื่องมือถือเต็ม เลยอาจซื้อพวก Flash Drive ที่เสียบกับมือถือได้ หรือไม่ก็ซื้อ Micro SD มาใส่บนบนมือถือเพิ่ม แต่ความจริงแล้วเราสามารถฝากไฟลขึ้นพวก Cloud ได้ฟรีๆก็มีหลายแห่ง บทความนี้เลยรวบรวมแอป Cloud Storage ที่ใช้คู่กับมือถือคุณได้ฟรี และสามารถซื้อพื้นที่ cloud เพิ่มราคาสุดคุ้มด้วย มีแอปไหนบ้าง ดูกันเลย

1 Amazon Drive ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android ฝากไฟล์ฟรี 5GB หากต้องการเพิ่มพื้นที่ Cloud เพิ่ม สามารถซื้อ 100GB ราคา 370 กว่าบาท ต่อปี และ 1 TB ราคาเพียง 1,893 บาท ต่อปี ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android รวมทั้งแอปบน Windows และ Mac และเว็บไซต์ https://www.amazon.com/clouddrive

2. BOX ฟรีพื้นที่ฝากไฟล์ 10 GB ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android รวมถึงเว็บไซต์ BOX.com หากพื้นที่ไม่พอ ก็ซื้อได้ 100 GB ราคา 315 บาทต่อเดือน

3. Dropbox แถมพื้นที่ฟรี 2GB ใช้ได้ทั้ง iOS , Android , รวมถึงเว็บไซต์ Dropbox.com และแอป Dropbox บนคอมพิวเตอร์ Windows , Mac หากพื้นที่ไม่พอ ซื้อเพิ่มเป็น 1TB ราคาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน

4. Google Drive ฝากไฟล์ฟรี แต่ไม่เกิน 15GB เพราะใช้พื้นที่ร่วมกับ Gmail และ Google Photos บางส่วน แต่ก็คุ้มมากหากต้องการฝากไฟล์แบบเต็มๆไว้บน Cloud เพราะสามารถใช้ได้ทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง iOS , Android , Mac , Windows รวมถึง Chromebook ด้วย หากพื้นที่ฝากไฟล์ไม่พอก็ซื้อเพิ่ม 100 GB ราคาเพียง 70บาทต่อเดือน และ 1TB 350 บาทต่อเดือน แถมสามารถซื้อเป็นรายปี ในราคาถูกกว่าปกติด้วย เข้าไปใช้ได้ที่ http://drive.google.com

5. Google Photos สำหรับคอถ่ายภาพ save ภาพและวีดีโอ แนะนำติดตั้งไว้และใช้อย่างยิ่ง เพราะสามารถอัปโหลดภาพ และวีดีโอ ได้ไม่จำกัด แต่อาจลดคุณภาพของภาพและวีดีโอลง แลกกับการใช้บริการแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แถมสะดวกในการค้นหารูปได้ง่ายทั้งหาใบหน้าคน ใบหน้าสัตว์เลี้ยง สถานที่ ก็จัดได้อย่างเป็นระเบียบ แอปนี้ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android และเว็บไซต์ photos.google.com

6. Flickr จาก Yahoo สำหรับคอถ่ายภาพระดับโปร และโหลดภาพเก็บไว้ชมคุณภาพสูงแนะนำโหลดแอปนี้ไว้และอัปโหลดขึ้นที่นี่เลย เพราะให้พื้นที่ฝากไฟล์ภาพฟรีสูงถึง 1TB โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้ได้ทั้ง iOS , Android และบนเว็บไซต์ flickr.com

7. OneDrive จาก Microsoft ใครใช้ Hotmail , office365 จำเป็นต้องใช้แอป OneDrive ด้วย รองรับการแก้ไขไฟล์ Office บน Cloud ฟรี และฝากไฟล์ภาพและวีดีโอ 5GB เสียเงินซื้อพื้นที่เพิ่ม 100GB ในราคาประมาณ 63 บาทต่อเดือน และที่สำคัญ หากคุณอยู่ในสถานะสมาชิก Office365 จะได้พื้นที่ OneDrive ฝากได้ถึง 1TB ฟรีตลอดอายุสมาชิกรายเดือนหรือรายปี ใช้ได้ทั้ง iOS , Android , Windows และเว็บไซต์ OneDrive.com โดยใช้บัญชี Microsoft ในการ Login

8. Mega แอปฝากไฟล์ขนาดใหญ่ชื่อดังก็มีบริการ Cloud ของตัวเองด้วย สามารถฝากไฟล์ขึ้น Mega ได้ฟรี 50GB ทันที ใช้ได้ทั้ง Ios และ Android รวมถึงเว็บไซต์ mega.co.nz ด้วย ส่วนราคาโปรเริ่มต้น 200GB ราคาประมาณไม่เกิน 200 บาท ต่อเดือน

เรียกได้ว่าเราสามารถฝากไฟล์ขึ้น Cloud เยอะๆได้ผ่านทางมือถือ และมีตัวเลือกมากมายในราคาถูกเป็นพิเศษหรือฟรีไปเลย โดยไม่ต้องซื้อ Micro SD แล้วมาเปลี่ยนหรือมาลบรูปแสนเสียดายให้วุ่นวาย ไม่ต้องมา copy แล้วเก็บใน Harddisk พกติดตัว ลองใช้บริการ Cloud ผ่านแอปบนมือถือหรือเว็บไซต์เหล่านี้ดูได้

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

ใครใช้ iPhone 7 , iPhone 8 และ iPhone X และอาจรวมไปถึง iPhone รุ่นใหม่ในอนาคตซึ่ง เป็นไปได้ว่า iPhone จะไม่มีพอร์ตแจ็ค 3.5mm สำหรับเสียบหูฟัง ซึ่งตามปกติคือเราสามารถเสียบแจ็คหูฟังได้ และสามารถชาร์จแบตมือถือ iPhone พร้อมๆกันได้ แต่พอมาถึง iPhone 7 ขึ้นไปกลับยุ่งยาก เพราะไม่มีแจ็คหูฟัง 3.5mm และต้องใช้พอร์ตและสายหูฟังที่เป็นหัว Lightning มาเสียบฟังแทน และที่สำคัญ ไม่สามารถฟังเพลงไปและชาร์จมือถือ iPhone พร้อมๆกันได้ จะทำอย่างไรดี เรามี 4 แนวทางที่คุณสามารถฟังเพลงไป ชาร์จแบตมือถือไปได้อีกครั้ง

1. ซื้อหูฟังไร้สาย Air Pod ราคาประมาณ 6,900 บาท ซึ่งใข้ได้กับ iPhone 5 ขึ้นไป และเชื่อมต่อผ่านทาง Bluetooth และสามารถสั่งงานด้วยเสียงผ่านทาง siri ผ่านทางหูฟังได้ด้วย เรียกได้ว่า หูฟังนี้ออกแบบใช้คู่กับ iPhone

2. ใช้หูฟังไร้สายที่ใช้ร่วมกับ iPhone ได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นยี่ห้อ Beats แต่ราคาก็อาจสูงกว่า Air Pod หน่อย รายละเอียดดูที่เว็บไซต์ Apple ได้เลยหรือดูยี่ห้ออื่นๆที่รองรับใช้กับ iPhone 7 ขึ้นไปได้

3. iPhone Lightning Dock สามารถตั้ง iPhone ได้ มีแจ็คหูฟัง 3.5 มม. เสียบด้วยสายหูฟังปกติฟังเพลง และใช้สาย Lightning สำหรับชาร์จไฟได้ เหมาะสำหรับฟังเพลงไปทำงานไปดูหนังไปอยู่กับบ้าน หรือที่ทำงาน แต่ไม่สะดวกนักสำหรับคนที่จะเดินไปฟังเพลงไป

4. ใช้อุปกรณ์เสริมมาเสียบกับพอร์ต Lightning ของ iPhone ด้วย Belkin Lightning Audio + Charge RockStar ราคาประมาณ 1400 บาท ซึ่งจะได้พอร์ต Lightning ถึง 2 พอร์ตโดยพอร์ตนึงสำหรับชาร์จมือถือด้วย Adaptor หรือ Powerbank และอีกพอร์ตนึงสำหรับหูฟังมีสายแบบ Lightning ไว้ฟังเพลงนั่นเอง

ทั้งหมดนี้คือ 4 ทางเลือกสำหรับผู้ใช้ iPhone 7 ขึ้นไป ซึ่งเป็นรุ่นที่ไม่มีแจ็คหูฟัง ดูแล้วทำอะไรยุ่งยากนะ วิธีง่ายที่สุดคือซื้อซื้อหูฟังไร้สาย แต่ต้องแลกด้วยการจ่ายเงินแพงๆ หรือซื้ออุปกรณ์เสริมมีเสียบกับพอร์ต Lighting ให้มีพอร์ตเพิ่ม 2 พอร์ต ในราคา 1 พันกว่าบาท แต่ก็ต้องแลกกับความยุ่งยากพกยากอีก

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

มื่อโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง Internet of Things หรือ IoT ยกตัวอย่างเช่นเช่น กล้องวงจรปิด สมาร์ตทีวี หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็เริ่มมีออกมาให้เห็นกัน แน่นอน ด้วยทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ย่อมหมายถึงโอกาสที่จะเกิดการแฮกโจมตีโดยอาชญากรไซเบอร์ผ่านทางช่องโหว่ที่ขาดการป้องกัน ก็เริ่มมีแผนให้เห็นโดยเฉพาะการแฮกอุปกรณ์เหล่านี้

บริษัทผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลกอย่าง Symantec ได้คาดการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปี 2018 ว่าอุปกรณ์ IoT และ Blockchain จะถูกจับตามองจากอาชญากรไซเบอร์ ทั้งยังระบุว่าอาชญากรจะใช้ AI และ Machine Learning เป็นเครื่องมือโจมตี และมีโอกาสที่เราจะได้เห็นการต่อสู้กันของ AI ฝั่งอาชญากรกับ AI ฝั่งความมั่นคงปลอดภัย

10 เทรนด์ทำนายภัยมืด Cyber Security ปี 2018

  1. เงินดิจิทัลเป็นเป้าโจมตี แม้ Blockchain จะมีการนำไปใช้ในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องเงินดิจิทัล แต่เรื่องเงินที่แลกเปลี่ยนบน Blockchain และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์คือเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ เหยื่อจะโดนหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมขุดเหรียญในคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โมบาย และลักลอบนำพลังในการประมวลผลบนเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมไปใช้ในการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่มีความรุนแรงขึ้น
  2. AI และ Machine Learning จะถูกใช้เป็นเครื่องมือโจมตี โดยปกติแล้วเทคโนโลยี AI และ Machine Learning จะใช้ในการป้องกันและตรวจจับภัยคุกคาม แต่สถานการณ์นี้จะเปลี่ยนไปในปี 2561 เพราะกลุ่มอาชญากรไซเบอร์จะนำ AI และ Machine Learning มาประยุกต์ใช้ในการโจมตี และเป็นปีแรกที่เราจะเห็น AI ต่อสู้กับ AI ในบริบทของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยอาชญากรไซเบอร์จะใช้ AI ในการโจมตีและลอบแฝงเข้าไปในเครือข่ายของเหยื่อหลังจากสามารถเจาะเข้าสู่ระบบ ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้เวลาและคนจำนวนมาก
  3. การโจมตี Supply Chain กลายเป็นกระแสหลัก การโจมตี Supply Chain ไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นการโจมตีที่ได้ผลเสมอ เพราะโจมตีผ่านคู่ค้าหรือพาร์ตเนอร์องค์กร ปัจจุบันมีข้อมูลสำคัญและกระบวนการมากมายบน Supply Chain อาชญากรไซเบอร์อาจเจาะข้อมูลผ่านคู่ค้าเพราะง่ายกว่าการเจาะเข้าระบบบริษัทใหญ่โดยตรง
  4. มัลแวร์ไร้ไฟล์และที่เป็นลักษณะไฟล์ขนาดเล็กจะพุ่งสูงขึ้น ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมามีจำนวนมัลแวร์ไร้ไฟล์และมัลแวร์ที่เป็นลักษณะไฟล์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โซลูชันที่สามารถที่จะระบุการโจมตียังมีจำกัด และไม่สามารถตรวจจับมัลแวร์ไร้ไฟล์ได้ในทันที ซึ่งจะกลายภัยคุกคามและพุ่งสูงขึ้นในปี 2561 นี้
  5. องค์กรจะยังคงวุ่นวายกับ Security ของ Software-as-a-Service (SaaS) เป็นปัญหาที่องค์กรต้องเจอต่อไปในปี 2018 เพราะส่วนใหญ่อาศัยเครื่องมือดิจิทัลเพิ่มความคล่องตัวให้ธุรกิจในการทำ Digital Transformation และเคลื่อนย้ายข้อมูลไปไว้บนคลาวด์ ก่อให้เกิดความท้าทายด้านความมั่นคงปลอดภัย เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล การควบคุมข้อมูล การติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ และการเข้ารหัสข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชัน SaaS นอกจากนี้ยังมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่ที่จะส่งผลทั่วโลก และมีผลกระทบที่สำคัญในแง่ของบทลงโทษและที่สำคัญกว่าคือความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กร
  6. องค์กรจะยังคงต่อสู้กับ Security ของ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) แม้ IaaS จะเปลี่ยนวิถีระบบการทำงานเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเพิ่มความคล่องตัว ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความมั่นคงปลอดภัย แต่ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลจำนวนมหาศาล และทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ และเนื่องจากการควบคุมแบบเดิมไม่ได้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนระบบคลาวด์ การเพิกเฉยต่อการควบคุมแบบใหม่จะนำไปสู่การโจมตีมากขึ้นในปี 2561 ซึ่งจะทำให้องค์กรต้องดิ้นรนเปลี่ยนโปรแกรมด้านความมั่นคงปลอดภัยเพื่อให้ IaaS ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. โทรจันการเงินจะยังคงสร้างความเสียหายมากกว่ามัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยเปลี่ยนจากโจมตีบนคอมพิวเตอร์ มาโจมตีผ่านมือถือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยน้อยกว่า ซึ่งคาดว่าจะทำให้คนร้ายแสวงหากำไรได้มากขึ้นและสร้างความเสียหายได้มากกว่ามัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)
  8. อุปกรณ์เครื่องใช้ IoT ราคาแพงภายในบ้านจะถูกเรียกค่าไถ่ แฮกเกอร์กำลังขยายการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ไปสู่ IoT ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ราคาแพงภายในบ้านซึ่งเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตทีวี ของเล่นอัจฉริยะ หรืออุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้ไม่ได้ตระหนักในเรื่องนี้
  9. อุปกรณ์ IoT จะถูกยึดครองและใช้เป็นฐานในการโจมตี DDoS โดยใช้ประโยชน์จากการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่เข้มงวดและขาดการจัดการที่เหมาะสมของอุปกรณ์ IoT ภายในบ้าน โดยสามารถใช้การโจมตีเข้าควบคุมอุปกรณ์ด้วยการป้อนเสียง ภาพ หรือข้อมูลปลอมอื่น ๆ เพื่อสั่งให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำตามคำสั่งของอาชญากรโจมตีลักษณะ DDoS ส่งผลให้ระบบที่เป็นเป้าหมายให้บริการช้าลง หรือหยุดให้บริการ
  10. อุปกรณ์ IoT จะเปิดช่องทางเชื่อมต่ออย่างถาวรกับเน็ตเวิร์กภายในบ้าน จากการไม่ตระหนักถึงผลกระทบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอุปกรณ์ IoT ภายในบ้าน ละทิ้งการตั้งค่ามาตรฐาน และไม่อัปเดตซอฟต์แวร์สม่ำเสมอเหมือนการใช้คอมพิวเตอร์ การเปิดช่องทางอย่างถาวรคือ ไม่ว่าจะแก้ไขโดยการล้างเครื่องหรือปกป้องคอมพิวเตอร์เท่าไร ผู้โจมตีก็ยังสามารถเข้าถึงเน็ตเวิร์กและระบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางลับที่ถูกสร้างไว้

Symantecได้เสนอคำแนะนำสำหรับบริษัทและองค์กรว่า

  • ให้นำ AI และ Machine Learning มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันภัยไซเบอร์
  • หาทางใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อตรวจจับมัลแวร์ไร้ไฟล์ได้
  • ต้องมียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย IoT ที่ชัดเจนหากองค์กรจะใช้อุปกรณ์ IoT มาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร
  • อบรมสร้างความตระหนักด้านภัยคุกคามเสมอ เช่น ลักษณะสำคัญของสแปม อีเมลที่ไม่ควรคลิก การจัดเก็บข้อมูลให้เหมาะสม ฯลฯ

การดูแลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ผู้ใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะผ่านสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือองค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญ รวมไปถึงติดตามความเคลื่อนไหวด้านเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม ซึ่งมีวิธีการแปลก ๆ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเราจำเป็นต้องเรียนรู้และร่วมมือกันดูและป้องกัน เพื่อสร้างสังคมดิจิทัลที่มีความมั่นคงปลอดภัยมากที่สุด

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

ทุกวันนี้เราใช้คอมพิวเตอร์กันเป็นประจำ โดยเฉพาะหนุ่ม สาวออฟฟิศ เรามาดู 7 วิธีใช้คอมพิวเตอร์ แบบทำร้ายตัวเอง กันดีกว่าจะได้ระมัดระวังการใช้งานค่ะ

วิธีที่ 1 ยื่นหน้าเข้าไปใกล้ๆ จอ
เพราะ ระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างดวงตาของเรากับจอคอมพิวเตอร์อยู่ที่ 20-24 นิ้ว ดังนั้นถ้าเรายื่นหน้าเข้าไปให้ใกล้กว่านั้น ดวงตาเราก็จะได้รับทั้งรังสีปริมาณมาก และได้เพ่งจอใกล้ๆ ด้วย ผลที่จะได้ระยะสั้นคือปวดหัว ปวดตา ส่วนระยะยาวคืออาจจะเป็นต้อหินและตาบอดได้ในที่สุดค่ะ

วิธีที่ 2 ตั้งจอให้แสงสะท้อนเข้าตา
พยายามหันหน้าจอให้มีแสงจ้าๆ สะท้อนเข้าตาเรา เช่น วางจอไว้ใกล้หน้าต่างตอนกลางวัน หรือตั้งโคมไฟไว้ใกล้ๆ หน้าจอ เพราะแสงที่สะท้อนออกมาจากจอคอมพิวเตอร์สามารถทำให้ดวงตาของเราเมื่อยล้าได้ ง่ายๆ สมใจค่ะ

วิธีที่ 3 จ้องจอนานๆ
พยายาม จ้องจอคอมพิวเตอร์ให้มากกว่าครั้งละ 30 นาที ถ้าเริ่มรู้สึกปวดตาเมื่อไหร่แสดงว่าใช้ได้แล้ว เพราะนั่นหมายถึงดวงตาเริ่มล้าแล้ว ทำบ่อยๆ คุณภาพตาจะแย่ลงเรื่อยๆ ถ้าไม่กระพริบตาเลยจะยิ่งดี เพราะจะทำให้ตาแห้ง แล้วก็แสบตาในที่สุด ส่วนแผนกระจกกรองแสงถ้ามีก็ถอดออกเสีย เพราะจะเป็นการกรองรังสีจากจอ ดวงตาจะปลอดภัยเกินไปค่ะ

วิธีที่ 4 นั่งให้ผิดท่า
ชุดเก้าอี้และโต๊ะที่ใช้ถ้าหาแบบที่ต่างระดับกันได้มากๆ จะทำให้ท่านั่งผิดสุขลักษณะ ซึ่งจะส่งผลเสียโดยตรงต่อกล้ามเนื้อกับกระดูกที่แขน ไหล่ หลัง และคอ และเราสามารถเพิ่มระดับความอักเสบของกล้ามเนื้อให้มากขึ้นด้วยการนั่งที่ผิด ท่า นั่นก็คือเวลาใช้คอมพิวเตอร์อย่านั่งหลังตรง ให้นั่งค้อมไปข้างหน้าบ้าง แอ่นไปข้างหลังบ้าง

วิธีที่ 5 วางคีย์บอร์ดให้ผิดทาง
เวลาพิมพ์งานลองหามุมวางคีย์บอร์ดแล้วทำให้ต้องวางมือยากๆ ควรวางข้อมือบนโต๊ะหน้าคีย์บอร์ดถ้าหากจำเป็น การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์ควรกดแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ จะเมื่อยและเจ็บนิ้ว และยังของแถมคือคีย์บอร์ดจะเจ๊งเร็วขึ้น เก้าอี้ที่ใช้ให้เลือกใช้แบบที่ไม่มีที่ให้วางแขน เพื่อที่แขนจะได้เกร็ง เมื่อเกร็งมากๆ ก็จะเมื่อยแขน ปวดไหล่ ปวดนิ้ว ลามไปถึงคอและหลังได้ด้วย

วิธีที่ 6 กินขนมหน้าคอมฯ
ให้หาขนมมากินขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ไปด้วย เพราะมีโอกาสที่เศษขนมหรือเกล็ดน้ำตาลจะหล่นลงไปในแป้นคีย์บอร์ด แล้วกลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ซึ่งถ้าเราใช้คีย์บอร์ดสลับกับกินขนมครั้งแบบนี้อีก เราอาจจะโชคดีได้ท้องเสีย เพราะนิ้วของเราย่ำยีอยู่กับแหล่งเพาะเชื้อตลอดเวลานั่นเอง

วิธีที่ 7 แช่แข็งตัวเองอยู่หน้าจอ
พยายามหาเรื่องอะไรมาทำให้ตัวเองเพลินๆ จะได้นั่งอยู่หน้าเครื่องนานๆ จะได้ลืมให้หมดว่าการที่ไม่เปลี่ยนอิริยาบถนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เครียดจนเมื่อยจนปวด จะได้ลืมว่าควรกินน้ำชั่วโมงละ 1 แก้ว จะได้ลืมว่าถ้าปวดฉี่แล้วไม่ยอมไปห้องน้ำจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย

คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]

คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

 

About I-Comz

bcomz.com เป็นส่วนหนึ่งของงานซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ รามคำแหง ซึ่งมีประสบการณ์การซ่อมและการค้าขาย มากกว่า 10 ปี โดยมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งและช่องทางการขายปลีกที่สะดวกสบายสำหรับผู้บริโภคและมอบแพลตฟอร์มสำหรับผู้ค้าให้สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างง่ายดาย

Counter

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
116410
©2024 ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ All Rights Reserved. Designed By Becomz

Search