BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4

System Software (ซิสเทม ซอฟต์แวร์) คืออะไร

System software  

     เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อให้บริการกับโปรแกรมอื่นๆ ในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์

 

System software
System software

 

     System Software หรือ ซอฟต์แวร์ระบบ คือ 

ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้า และส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ โดยรวมแล้วจึงหมายถึง ซอฟแวร์ที่ทำหน้าทีควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่เรารู้จักกันดี คือ ระบบปฏบัติการ (

) เช่น 

, Unix, Linux, เป็นต้น รวมทั้งโปรแกรมที่แปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, 

, C

     

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

     1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณืต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ สรุปง่ายๆคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงาน แล้วจะต้องติดต่อกับซอฟแวร์ระบบก่อนถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนินี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows, Unix, DOS, Linux เป็นต้น

      2. ตัวแปลภาษา (Translator)  จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี 2 แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง   เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น  ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic, Visual C หรือ Delphi เป็นต้น

     3. ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือ ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วย Back up ข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม Norton, Winzip, Scan virus เป็นต้น

     4. ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office, โปรแกรม Driver Sound ,  Driver Printer , Driver Scanner เป็นต้น