BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4

วิธีตรวจเช็ค อุปกรณ์ อะไหล่ คอมพิวเตอร์

 
  แอมแปร์ : เป็นหน่วยของกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านโลหะตัวนำเหยียดตรงขนานกัน 2 เส้น มีความยาวมากๆ (อินฟินิตี้) โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่หน้าตัด โลหะตัวนำทั้งสองเส้นวางห่างกัน 1 เมตรในสุญญากาศ แรงที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะตัวนำทั้งสองมีค่าเท่ากับ 2x 10-7 นิวตัน ต่อความยาวของโลหะตัวนำ 1 เมตร  
  แอมแปร์-ชั่วโมง : เป็นหน่วยของปริมาณไฟฟ้า 36,000 คูลอมป์ โดย 1 แอมแปร์-ชั่วโมง คือ กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง  
  คูลอมป์ : เป็นหน่วยของประจุไฟฟ้า โดย 1 คูลอมป์ มีค่าเท่ากับ ปริมาณไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในเวลา 1 วินาที  
  ฟารัด : เป็นหน่วยของความจุ โดย 1 ฟารัด มีค่าเท่ากับความจุระหว่างแผ่นโลหะ 2 แผ่นที่มีความจุ 1 คูลอมป์ และมีความต่างศักย์ระหว่างแผ่น 1 โวลต์ ในการใช้งานส่วนใหญ่จะพบหน่วยเป็น ไมโครฟารัด , นาโนฟารัด และพิโกฟารัด  
  เฮนรี่ : เป็นหน่วยของความเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดย 1 เฮนรี่มีค่าเท่ากับ แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ที่เกิดขึ้นในขดลวดวงจรปิดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรและกระแสไฟฟ้านั้นเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ในอัตรา 1 แอมแปร์ต่อวินาที ในงานทั่วไปจะพบหน่วย ไมโครเฮนรี่ และมิลลิเฮนรี่  
  เฮิรตซ์ : เป็นหน่วยของความถี่หรือจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอซ้ำๆกันในเวลา 1 วินาที  
  จูล : เป็นหน่วยของพลังงาน ทั้งด้านพลังงานกลและพลังงานความร้อน พลังงาน 1 จูล คือ งานที่เกิดขึ้นจากการกระทำของแรง 1 นิวตัน เคลื่อนที่เป็นระยะทาง 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันกับแรงนั้น  
  โอห์ม : เป็นหน่วยของความต้านทาน โดย ความต้านทานขนาด 1 โอห์ม หมายถึง ความต้านทานที่ถูกป้อนด้วยแรงดันคงที่ ขนาด 1 โวลต์ แล้วเกิดกระแสขนาด 1 แอมป์ผ่านความต้านทานนั้น  
  โมห์ : เป็นหน่วยของความนำไฟฟ้า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ซีเมนส์" เป็นส่วนกลับของโอห์ม เช่น ความต้านทาน 4 โอห์ม เท่ากับ 0.25 ซีเมนต์ หรือ 0.25 โมห์  
  นิวตัน : เป็นหน่วยของแรง แรงขนาด 1 นิวตัน คือ แรงที่ทำให้ของหนัก 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่ง 1 เมตรต่อวินาที  
  เทสลา : เป็นหน่วยของความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก มีค่าเท่ากับ 1 เวเบอร์ต่อตารางเมตรของพื้นที่วงจร  
  โวลต์ : เป็นหน่วยของแรงดันไฟฟ้า แรงดัน 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับแรงดันของ 2 จุด ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 1 แอมแปร์ และมีกำลังไฟฟ้าเกิดขึ้นระหว่าง 2 จุดนั้น 1 วัตต์  
  โวลต์-แอมแปร์ : เป็นผลคูณของแรงดันเป็นโวลต์ (อาร์เอ็มเอส RMS ) กับกระแส (อาร์เอ็มเอส RMS)  
  วัตต์ : เป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า โดยกำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับพลังงาน 1 จูลต่อวินาที  
  กิโลวัตต์ : เท่ากับ 1,000 วัตต์  
  กิโลวัตต์-แอมแปร์ : เท่ากับ 1,000 โวลต์-แอมแปร์  
 

เวเบอร์ : เป็นหน่วยของเส้นแรงแม่เหล็ก โดยขนาด 1 เวเบอร์ หมายถึง เส้นแรงแม่เหล็กซึ่งเชื่อมโยงลวดตัวนำ 1 รอบ จะเกิดแรงดัน 1 โวลต์ ใน

 

   
 
ตัวนำหน้า
สัญลักกษณ์
คูณด้วย
Tera (เทรา) T 1012
Giga (กิกะ) G 109
Mega (เมกะ) M 106
Kilo (กิโล) k 103
Hecto (เฮกโต) h 102
Deka (เดคา) da 10
Deci (เดซิ) d 10-1
Ceti (เซนติ) c 10-2
Milli (มิลลิ) m 10-3
Micro (ไมโคร) µ 10-6
Nano (นาโน) n 10-9
Pico (พิโก) p 10-12
Femto (เฟมโต) f 10-15
Atto (แอตโต) a 10-18

 

 
       เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต้านกระแสไฟฟ้าให้ลดลง มี 2 ประเภท คือ แบบค่าคงที่และแบบปรับค่าได้ ส่วนใหญ่การบอกค่าตัวต้านทานมักดูที่แถบสี เนื่องจากมีขนาดเล็ก ไม่สามารถพิมพ์ค่าลงเป็นตัวเลขได้ การใช้แถบสีแสดงค่าจึงเป็นการอ่านค่า แบบมาตรฐานที่นิยมใช้ทั่วไป โดยกำหนดให้แถบสีที่อยู่ชิดด้านใดด้านหนึ่ง ของตัวต้านทานเป็นแถบที่ 1 แล้วจึงจำทำการอ่านค่าต่อไป โดยในตัวอย่างกำหนดให้แถบสีที่ 1 อยู่ทางซ้ายมือ เวลาอ่านจะไล่จากซ้ายไปขวา  
     
  การอ่านค่าสีตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี  
      การอ่านค่าสีตัวต้านทาน แบบ 4 แถบสี ให้อ่านจากซ้ายมาขวา เช่น "เหลือง ม่วง ส้ม ทอง" แถบสีที่ คือ สีเหลืองแทนด้วยเลข 4 แถบสีที่ 2 แทนด้วยเลข 7 แถบสีที่ 3 คือ ตัวคูณ ดังนั้น สีส้ม หมายถึง ตัวคูณ ×1000 และสีทองคือ ค่าความผิดพลาด ±5% ดังนั้นสามารถอ่านค่าความต้านทานได้ 47×1000 = 47,000 โอห์ม ±5% หรือ 47 กิโลโอห์ม ±5%  
     
  การอ่านค่าสีตัวความต้านทานแบบ 5 แถบสี  
      การอ่านค่าแบบ 5 แถบสี ให้อ่านไล่จากซ้ายมาขวา เช่น "เขียว น้ำตาล ดำ แดง น้ำตาล" สีเขียวคือ หลักแรกแทนด้วยเลข 5 สีน้ำตาลเป็นหลักที่สองแทนด้วยเลข 1 สีดำเป็นหลักที่สามแทนด้วยเลข 0 ต่อมาแถบสีของตัวคูณ สีแดง แทนด้วย ตัวคูณ × 100 และสีน้ำตาลสุดท้ายเป็นค่าความผิดพลาด แทนด้วย ±1% ดังนั้น ค่าที่อ่านได้คือ 510×100 = 51,000 โอห์ม ±1% หรือ 51 กิโลโอห์ม ±1%

หน่วยที่ใช้สำหรับตัวต้านทาน
การเทียบค่าสำหรับตัวต้านทาน
โอห์ม ใช้สัญลักษณ์ Ω 1,000 โอห์ม เท่ากับ 1 กิโลโอห์ม
กิโลโอห์ม ใช้สัญลักษณ์ kΩ 1,000 กิโลโอห์ม เท่ากับ 1 เมกะโอห์ม
เมกะโอห์ม ใช้สัญลักษณ์ MΩ  
 
     
  ตัวอย่าง ตารางรหัสสีมาตรฐาน EIA (EIA-RS-279) แบบ 4 แถบ  
 
สี
แถบ 1
แถบ 2
แถบ 3
(ตัวคูณ)
แถบ 4
(ค่าความผิดพลาด)
สัมประสิทธิอุณหภูมิ
ดำ 0 0 ×100    
น้ำตาล 1 1 ×101 ±1% (F) 100 ppm
แดง 2 2 ×102 ±2% (G) 50 ppm
ส้ม 3 3 ×103   15 ppm
เหลือง 4 4 ×104   25 ppm
เขียว 5 5 ×105 ±0.5% (D)  
น้ำเงิน 6 6 ×106 ±0.25% (C)  
ม่วง 7 7 ×107 ±0.1% (B)  
เทา 8 8 ×108 ±0.05% (A)  
ขาว 9 9 ×109    
ทอง     ×0.1 ±5% (J)  
เงิน     ×0.01 ±10% (K)  
ไม่มีสี       ±20% (M)  

หมายเหตุ: สีแดง ถึง สีม่วง คือ สีของสายรุ้ง โดย สีแดงเป็นสีที่มีพลังงานต่ำสุด และสีม่วงมีพลังงานสูงกว่า