BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4

วิธีทำ Power supply เก่าให้เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับพัดลมระบายความร้อนให้กับ router หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ

สวัสดีครับเพื่อน ๆห่างหายไปนานพอสมควรกับบทความทิปเทคนิควันนี้จะขอนำเสนอวิธีการทำ power supply เก่า (ที่ยังไม่เสีย แต่ว่าไม่สามารถจ่ายไฟให้กับเครื่องทั้งระบบได้ เช่นจ่ายไฟไม่พอ หรือแรงดันไฟตก) มาทำเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับพัดลมเพื่อใช้ในการระบายความร้อนให้กับ router หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามต้องการครับ จะได้ไม่ต้องไปซื้อพัดลมตัวเล็ก ๆ ให้เสียเงิน.

ถ้าเพื่อน ๆ จะถามว่าทำไมต้องเอาพัดลมเป่า เร้าเตอร์ด้วย? ก็แน่นอนครับ เพื่อนบางท่าน ใช้งานมันหนักมาก ไม่เคยปิดเลย ถึงแม้ว่าความร้อนสะสมในตัวเร้าเตอร์จะมีไม่มากแต่ถ้าเปิดทั้งวันทั้งคืนโอกาสที่มันจะเสียหาย หรือเสื่อมคุณภาพเนื่องจากความร้อนก็มีอยู่นะครับ เช่นใช้ ๆ ไปแล้วเน็ตหลุด หรือค้างบ่อย ๆ หรือใช้ ๆ แล้วเน็ตช้าลงผิดปกติ อันนั้นแหละครับ ให้สังเกตุว่าเป็นอาการของเร้าเตอร์เริ่มแพ้ความร้อนแล้วนั่นเอง ดังนั้นเราจึงมาช่วยยืดอายุของมันด้วยการช่วยเอาพัดลมเป่ากันหน่อยดีกว่า ไปดูอุปกรณ์และวิะีทำกันเลยครับ

อุปกรณ์

1.power supply เก่าที่ยังใช้ได้
2.พัดลม จะเป็นพัดลมที่ซื้อมาใหม่ก็ได้ หรือพัดลมจากฝาเคส ข้างเคสในเคส ที่ไม่ได้ใช้งานก็ได้ (ถ้าซื้อพัดลมใหม่อย่าซื้อที่ Amp เยอะนะครับ เพราะ power มันเก่าแล้วจะจ่ายไฟไม่พอเอา ก็เอาตัวที่แถมมากับฝาเคสแหละดีสุดแล้ว)
3.กรรไกร
4.คัตเตอร์
5.เทปพันสายไฟ
6.พรมหรือผ้าขนหนูหนา ๆ

เอาพรม หรือผ้าขนหนู มาทำไม เอามารองเท้าไว้ครับ เวลาทำงานกับไฟฟ้าอย่าให้เท้าสัมผัสภับพื้นโดยตรงจะดีที่สุด ยืนบนผ้า หนา ๆ รับรองไฟไม่ดูด

วิธีทำ

1.ขั้นแรกหยิบหัว Connect mainboard มาก่อนเลยครับ มองหาสายไฟที่มีสีเขียว (มีเส้นเดียว) และสีดำ เส้นไหนก็ได้ เจอแล้วก็ใช้กรรไกรตัดมันออกมาจากหัวต่อเมนบอร์ดเลยครับ

2.ใช้คัตเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกเอาสายทองแดงของทั้งสองเส้นออกมา แล้วพันเข้าด้วยกัน พันทัปด้วยเทปพันสายไฟให้เรียบร้อย(อันนี้ไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ อิอิ)

3.จากนั้นไปหาหัว connect อะไรก็ได้มา (แต่ถ้าคุณใช้ พัดลมจากในคอมพิวเตอร์ที่มีหัวต่ออยู่แล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่ถ้าใช้พัดลมอื่น ก็ตัดหัวของพัดลมออกให้เหลือแต่สายทองแดงแล้วปอกให้เรียบร้อยครับ ) ส่วนสายของ power เราจะใช้เส้นสีเหลือง และดำครับ ตัดมันออกมาจากหัวต่อและปอกให้เรียบร้อยเช่นกัน

4.พันสายสีเหลือง เข้ากับสายขั้วบวกของพัดลม (ส่วนใหญ่น่าจะสีแดง) และพันสายสีดำเข้ากับขั้วลบของพัดลมแล้วพันเทปพันสายไฟให้เรียบร้อย แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับ ง่ายสุด ๆ

5.ทดลองเสียปลั๊ก power supply มันจะทำงานทันทีพัดลมเย็น ๆ ให้เร้าเตอร์ได้ชื่นใจ  ^___^

หรือ! คุณจะใช้พัดลมก้นห้อย (พัดลมการ์ดจอวางด้านล่างก็ช่วยลดอุณหภูมิในเร้าเตอร์ได้ดีเช่นกัน)

ดูวีดีโอซะหน่อย

 

เป้นไงครับ ง่ายแบบไม่น่าเื่อเลยใช่ไหมทีนี้คุณจะเปิดเร้าเตอร์ข้ามวันข้ามคืนขนาดไหน ก็สบายแล้วครับไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนกันอีกต่อไป ส่วนคุณจะประยุกต์ใช้ทำอย่างอื่นนั้นก็ได้นะครับ อุปกรณ์อะไรที่ใช้ไฟ 12V และ 5V ก็ใช้เทคนิคนี้ได้หมดเลย.