BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4

ส่วนประกอบของโปรแกรมและการใช้ภาษาไทย

 โปรแกรมแรกของภาษาซี

หลังจากที่คุณได้สร้างไฟล์ Project และไฟล์ Source เสร็จแล้วนะครับ ในบทความนี้จะเป็นการปรับแต่งโปรแกรมและอธิบายให้ทราบเกี่ยวกับส่วนประกอบของโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อให้ผู้อ่านนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมในทุกครั้งได้

วิธีเปิด Project ที่มีไฟล์ Source อยู่มีดังนี้นะครับ
1. ไปที่เมนู File แล้วคลิ๊กที่ open Workspace เพื่อเปิด Project ขึ้นมาครับ

2. จะปรากฏหน้าต่าง Dialog Box Open Workspace มาให้ ให้คุณคลิ๊กที่ Look in ครับ ตามลูกศรเลย 

3. การเปิด Project งาน
3.1 เมื่อคลิ๊กตามข้อ 2. แล้วนะครับ จะมีลักษณะเป็น List ให้คุณเลือก Directory ที่เก็บไฟล์ Project ไว้ที่เราสร้างไว้ครั้งก่อน อย่างของผมนี้จะเป็น Drive E: นะครับ ถ้าคุณ เก็บไว้ไดร์ฟไหนก็เลือกไดร์ฟนั้นครับ
3.2 เสร็จแล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก (หรือกด Open) ที่ Program Files (ตรงนี้ขอละไว้ ณ ครับ เมื่อเลือก Drive แล้วจะมี Directory ในไดร์ฟนั้นๆ ขึ้นมาครับ)
3.3 ก็จะปรากฏ Directory ใน Program Files ให้ดับเบิ้ลคลิ๊ก(หรือกด Open) ที่ Microsoft Visual Studio
3.4 จะปรากฏ Directory ใน Microsoft Visual Studio ขึ้นมา ให้ดับเบิ้ลคลิ๊ก(หรือกด Open) ที่ MyProject ครับ

4. ภายใน Directory MyProjects นะครับจะมี Project ที่เราได้สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ ชื่อว่า First ครับ ให้คุณดับเบิ้ลคลิ๊ก (หรือกด Open) เพื่อเข้าไปใน Directory

5. จะมี Folder Debug และก็ไฟล์ First.dsw ซึ่งเป็น ไฟล์ Workspace ให้เปิดขึ้นมาครับ

6. เปิด Project ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว

ต่อมาจะมาดูส่วนประกอบคร่าวๆ ของโปรแกรมกันก่อนนะครับ

1. ส่วนของ Menu Bar จะมีคำสั่งหลักๆ ที่ใช้ในโปรแกรม
2. ส่วนของ Standard Toolbar หรือทูลบาร์มาตรฐานจะมีลักษณะเป็นภาพสัญลักษณ์ใช้แทนคำสั่งจากเมนูบาร์ที่เรามักใช้บ่อยๆ เช่น New Text File, Open, Save, Copy และ Paste เป็นต้น
3. หน้าต่าง Workspace
4. หน้าต่าง Source หรือ Editor เป็นหน้าต่างที่ใช้แก้ไขไฟล์ Source ต่างๆ
5. หน้าต่าง Output เป็นหน้าต่างแสดงผลลัพธ์ (แถบนี้อาจจะยังไม่ปรากฏนะครับ แต่ถ้าคุณ Compile แล้วแถบนี้จะปรากฏขึ้นมาอัตโนมัติ)
6. Status Bar หรือ แถบแสดงสถานะว่าโปรแกรมนั้นกำลังทำคำสั่งใดอยู่

การปรับแต่งให้สามารถใช้ภาษาไทยใน Source หรือ Editor
ปกติจะพิมพ์ได้เป็นภาษาอังกฤษนะครับ แม้คุณจะกดตัวหนอน (~) เพื่อเปลี่ยนภาษาแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น ต้องเซ็ต Font ที่สามารถรองรับภาษาไทยได้ครับ ขั้นตอนมีดังนี้
1. ไปที่เมนู Tools แล้วคลิ๊กที่ Options

2. คลิ๊กที่ลูกศรชี้ในภาพด้านล่าง จนเลื่อนมาสุด

3. จนเจอ Tab Format ให้คลิ๊กครับ

4. คลิ๊กที่ Source Windows ใน Category แล้วเลือก Font ครับ จะเลือก Font ไหนก็ได้ครับที่รองรับ ภาษาไทย (ส่วนมากจะมี UPC ตามหลัง อาทิเช่น AngsanaUPC, CordiaUPC เป็นต้น อีกทั้งคุณยังสามารถปรับเลือกขนาดได้ครับ ในกรณีนี้เป็นการปรับหน้าต่าง Source (Source Windows) ที่ไว้สำหรับปรับ ในส่วนที่ Code โปรแกรมนะครับ ถ้าต้องการปรับส่วนอื่น ก็ใช้วิธีการเดียวกันครับ