BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4
BCOMZ.COM
ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426 เริ่มต้นที่ 500บาท/เครื่อง ให้บริการเฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคชัย 4

กฎในการเขียนภาษา c

 สำหรับบทความนี้เราจะมาดูกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เราจำเป็นต้องรับรู้ไว้ก่อนที่จะเขียนโค้ดภาษา C เพื่อความถูกต้องในการเขียนโค้ด ลองมาดูกันเลยครับ

กฎในการเขียนภาษา C

1. คำสั่งในภาษา C ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก
2. ทุกประโยคเมื่อจบประโยคแล้วต้องใช้เครื่องหมาย “;” แสดงการจบประโยค ยกเว้นฟังก์ชันที่ตามด้วย ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วย “;”
3. ในหนึ่งโปรแกรมจะมีกี่ฟังก์ชันก็ได้แต่จะต้องมีฟังก์ชันที่ชื่อ main เสมอ
4. การใส่หมายเหตุ (Comment) เพื่อใช้เป็นส่วนที่อธิบายโปรแกรมสามารถกระทำได้ 2 รูปแบบ คือ
4.1 /* และ */ ใช้สำหรับข้อความที่ยาวกว่า 1 บรรทัด โดยโปรแกรมจะถือว่าข้อความที่ตามหลัง /*จะเป็นหมายเหตุจนกว่าจะพบเครื่องหมาย */ จึงจะแสดงว่าจบหมายเหตุแล้ว
5. // เหมาะสำหรับข้อความสั้นๆ 1 บรรทัด โดยถ้าบรรทัดใดขึ้นต้นด้วย // บรรทัดนั้นจะถือว่าเป็น หมายเหตุ

ชุดอักขระภาษา C

ภาษา C ใช้ตัวอักษรได้ทั้งเล็กและใหญ่ ตัวเลข 0-9 และตัวอักขระพิเศษในการสร้างองค์ประกอบพื้นฐานของโปแกรม อักขระพิเศษดังกล่าวมีดังนี้
 
นอกจากนี้ภาษา C ทุกรุ่นยังยอมให้มีการใช้อักขระอื่นๆ เช่น @ และ $ .ในส่วนที่เป็นสตริงและคำอธิบาย

กฎการตั้งชื่อ

การตั้งชื่อตัวแปรใดๆ ในโปรแกรมจะประกอบด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้ แต่อักขระตัวแรกจะต้องเป็นตัวอักษรเสมอ การตั้งชื่อตัวแปรสามารถกำหนดเป็นตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ตัวอักษรเล็กและใหญ่ในคำๆ เดียวกันจะมีความหมายต่างกัน เราสามรถใช้ขีดล่าง ( _ ) มาตั้งชื่อก็ได้และสามารถกำหนดให้เป็นอักขระตัวแรกของชื่อก็ได้ ตัวอย่างการตั้งชื่อ เช่น

X
y12
sum_1
_temp
name
area
tax_rate
TABLE

*** การตั้งชื่อไม่สามารถตั้งชื่อเหมือนกับคำสงวนได้และไม่สามารถเว้นช่องว่างระหว่างชื่อได้ ***

ตัวอย่างการตั้งชื่อที่ผิด

4ht
ไม่ได้เพราะ
อักขระตัวแรกเป็นตัวเลข
“x”
ไม่ได้เพราะ
ใช้อักขระไม่ถูกต้อง (“)
order-no
ไม่ได้เพราะ
ใช้อักขระไม่ถูกต้อง (-)
error flag
ไม่ได้เพราะ
ใช้อักขระไม่ถูกต้อง (blank)

ลำดับหลีก (escape sequences)
เป็นตัวอักษรที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ เช่น ( “ ) ,( ‘ ) หรือ ( \ ) ถ้าต้องการพิมพ์ออกมาเราจะต้องใช้ \ แล้วตามด้วยอักขระที่ต้องการ มีลำดับหลีกที่ใช้ทั่วไป ดังนี้

อักขระ
escape sequences
ค่า ASCII
bell (กระดิ่ง )
\a
007
backspace
\b
008
แท็บตามแนวนอน
\t
009
ขึ้นบรรทัดใหม
\n
010
แท็บตามแนวตั้ง
\v
011
ขึ้นหน้าใหม่
\f
012
ปัดแคร่
\r
013
อัญประกาศ
\”
034
อะโพสโตรฟิ
\’
039
เครื่องหมายคำถาม
\?
063
แบ็กสแลช
\\
092
นัล
\0
000

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะช่วยบอกรูปแบบการเขียนภาษา C ให้เราได้มากขึ้นเพื่อนนำไปใช้เขียนโค้ดได้อย่างถูกต้อง ซึ่งกฎเหล่านี้อาจจะนำไปใช้กับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีกด้วย เพราะโครงสร้างของภาษาคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะไม่ต่างกันมากนัก เราไม่ควรละเลยกฎเหล่านี้เพราะมันอาจจะทำให้เราเสียเวลาในการค้นหาและแก้ไขจุกบกพร่ิองของโปรแกรมเมื่อเิกิดข้อผิดพลาดได้