เรื่องของไฟล์ EPS และ TIF
ด้วยเหตุจากกระทู้ในเว็บบอร์ด จึงเป็นที่มาของบทความของเราในวันนี้ มีแขกผู้มีเกียรติท่านหนึ่ง ได้มาตั้งคำถามเกี่ยวกับไฟล์ เรื่องของประเภทไฟล์ในโปรแกรม Illustrator เคยสร้างความปวดกบาลให้ใครต่อใครมาหลายคนแล้ว วันนี้เราขอเสนอข้อมูล เกี่ยวกับไฟล์ EPS และ TIF ว่ามันต่างกันอย่างไร และเหมาะสมกับงานประเภทใดมาฝาก โดยคุณแอ๊ด เจ้าเก่า ผู้ที่ช่ำชองวิชา Illustrator ดุจปอกกล้วยเข้าปาก ตามพี่แกไปได้เลยครับ
ไฟล์ Tif นั้นนะครับเป็นไฟล์ประเภท บิตเมตคือภาพที่เกิดจากการเรียงต่อกัน ของพิกเซลหรือจุดจำนวนมากนั้นเองครับ เมื่อเราซูมเข้าไปดูภาพถ่ายใกล้ ๆ นั้นเราจะเห็นเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีต่าง ๆ นะครับ
นิยมใช้ในงานสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพราะให้ภาพสีที่ดีกว่า jpg ครับ แต่ภาพ แบบ EPS นั้น เป็นไฟล์ภาพแบบ ที่สามารถรองรับได ้ทั้งบิตแมปและ เวคเตอร์
ภาพเวคเตอร์คืออะไร?
ภาพเวคเตอร์นะครับเป็นภาพที่เกิดจาก การคำนวณของเรขาคณิต หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเราวาดเองบนเครื่องคอม โดยใช้โปรแปรม พวกอิลัส , ฟรีแฮนด์ หรือคอเรลดรอว์ นั้นแหละครับ
ภาพแบบเวคเตอร์นี้นะครับมีข้อดีอย่างมาก ๆ คือขยายให้ใหญ่แค่ ไหนก็ไม่แตก แต่ว่าเครื่องคอมคุณจะรับไหวหรือเปล่านะครับ และมีขนาดภาพ ที่เล็กกว่าบิตแมป ซึ่งภาพที่ออกมาจะเป็นโทนการ์ตูนนะครับ หรือที่เราเรียกว่าคลิปอาร์ตนั่นเอง
เอาละมาคุยกันเรื่องไฟล์ EPS กันต่อ ...ไฟล์ EPS เนี้ยนะครับ... เรียกว่าเป็นไฟล์กราฟฟิคยุคแรก ๆ เลยก็ว่าได้ที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ เพราะมันจะคำนวณค่าสีตามแบบ สีของโรงพิมพ์ 4 สีหรือ CMYK นั้นแหละครับ ทำให้สีของภาพ ที่เราพิมพ์ออกมาใกล้เคียง กับหน้าจอคอม (เครื่องใครเครื่องมันนะครับถ้าจอคุณผ่านการปรับแต่งหน้าจอแล้วละก็ สีของงานที่พิมพ์ออกมาเหมือนหน้าจอแน่นอน อิ อิ) แต่การแสดงผลหน้าจอนั้นไฟล์ EPS ดูไม่ได้เลยเพราะจะพรีวิวสี แค่ 256 สีเท่านั้น ถ้าอยากเห็นภาพสวย ๆ ก็ต้องส่งโรงพิมพ์ หรือปริ๊นท์กับเครื่องปริ้นท์เลเซอร์ ที่รองรับโพสต์สคริปไฟล์ (ไว้ว่าง ๆ จะมาบอกว่าไอ้โพสต์สคริปเนี้ยเป็นยังไง) แต่ถ้าเรามีปริ้นท์ กับเครื่องปริ้นท์อิงค์เจ็ต หน้าจออย่างไร ก็ได้อย่างนั้นแหละครับคือเละนั้นเอง
แล้วข้อดีมันมีอะไรอีก
1. สามารถนำไปใช้ได้กับโปรแกรมกราฟฟิคเน้นนะครับกราฟฟิคทุกโปรแกรมเลย
2. เอาไปใช้ได้ทั้งแม็คและพีซี โดยไม่ต้องแปลงไฟล์ให้ยุ่งยาก อิ อิ
3. รองรับการ Clipping Paths หรือทำให้พื้นหลังโปร่งใสเวลาไปใช้กับอิลัสหรือเพจเมกเกอร์
แหมข้อดีมันเยอะแต่ข้อเสียก็มีข้เดียวอย่างที่พิมพ์ไปแล้วก็คือเวลาแสดงผลมันไม่สวยอะ แล้วปริ้นท์อิงค์เจ็ตก็ไม่สวยเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเราจะใช้ไฟล์ EPS นี้เราจะใช้ตอนส่งโรงพิมพ์เท่านั้นจ้า
** Note : Postscript Driver เนี้ยเป็นลักษณะของฟอนท์ชนิดหนึ่งที่เป็นแบบเวคเตอร์ เนื่องมาจากว่า ฟอนท์ของพีซี ส่วนมากมันจะเป็นแบบ บิตแมปฟอนท์ ทำให้เวลาพริ้นท์ไม่ค่อยคมชัด ทางอโดบีจึงได้ ออกเจ้าโพสต์คริปไดร์ฟเวอร์ ออกมาเพื่อ แก้ปัญหานี้ ดังนั้นเวลาที่เราพิมพ์ข้อความ จากเลเซอร์พริ๊นเตอร์ มีฟอนท์แปลกประหลาด เช่น ฟอนท์จีนจึงปริ้นท์ไม่ออกเพราะ ว่าเจ้าโพสต์คริปไดร์ฟเวอร์เนี้ย มันจะทำการอ่านค่าฟอนท์ทุกครั้งก่อนปริ้นท์
แล้วไอ้ฟอนท์ประหลาด ๆ ที่วินโดว์สไทยอ่านไม่ได้เนี้ยจึงพริ้นไม่ออก คราวนี้ไอ้เจ้า โพสต์คริปไดร์ฟเวอร์ มันจะอ่านค่าสีต่าง ๆ เป็น Pixels ทำให้การเอาท์พุทสีนั้นถูกต้อง ซึ่งมันก็สอดคล้องกับไฟล์ EPS
เพราะเจ้า EPS เนี้ยมันจะอ่านข้อมูลสีเป็นพิคเซลที่ละพิคเซลเช่นเดียวกันจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมถึงเวลาเอาไปพริ้นท์กับ เครื่องที่มี โพสต์คริปไดร์ฟเวอร์ แล้วไฟล์ EPS ถึงสวยงามกว่าไฟล์ชนิดอื่น ๆ
คราวนี้ผมจะเล่าให้ฟังอีกนิดหนึงว่า ที่ผมเคยทำงานเอานั้นเป็นเอาท์พุทเซนเตอร์ หรือ โปรดักชั่นเฮาส์นั้นแหละ เวลาที่ลูกค้าส่ง ไฟล์มาเป็น TIF พวกผมก็ต้อง มาทำการแฟลงไฟล์ให้เป็น EPS เสียก่อนเพื่อให้เครื่องพริ้นท์นั้นอ่านค่าสีได้ถูกต้อง เพราะว่าเครื่องพริ้นท์ พลอตเตอร์ไอ้พวกหน้ากว้างเป็นเมตร ๆ นั้นมันเป็นแบบโพสต์คริป นะสิครับ อิอิ