ระดับการใช้งาน : เริ่มต้น(มือใหม่) , เริ่มเรียน Adobe Illustrator
“ หน้าตาของโปรแกรมในแต่ละเวอร์ชั่นอาจจะเหมือนกัน หรือต่างกันไม่มากเท่าไหร่ สามารถอ่านและทำความเข้าใจได้จากบทความนี้ได้เหมือนกันครับ “
* บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นที่จะเรียนกราฟฟิก หรือเริ่มเรียน Adobe Illustrator
แถบคำสั่ง (Menu Bar)
แถบคำสั่งของโปรแกรมทั้งหมดจะมีลักษณะเหมือนเครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรมออกแบบอื่นๆ ซึ่งในตอนแรกเราไม่จำเป็นต้องมานั่งจำทั้งหมดครับ ควรอ่านเพื่อทำความเข้าใจไว้ ในอนาคตเมื่อเราใช้โปรแกรมออกแบบเป็นประจำก็จะสามารถจำคำสั่งพวกนี้ได้อัตโนมัติครับ
โดยแถบคำสั่งแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ หรือประเภทต่างๆ ดังนี้
- File – ใช้สำหรับจัดการไฟล์ เช่น การ save, เปิด-ปิดไฟล์, การ Export หรือใช้สำหรับปิดโปรแกรม
- Edit – หมวดที่รวมรวบคำสั่งหรือการตั้งค่าบางอย่างไว้ เช่น การตั้งค่า Shortcut, Copy& Paste, ตัวอักษร
- Object – เป็นหมวดที่รวบรวมคำสั่งสำหรับการทำงานของ object, สิ่งของบนชิ้นงานของเรา
- Type – หมวดที่ใช้ทำงานกับ Font หรือตัวหนังสือ
- Select – เป็นหมวดที่ทำงานกับ “การเลือก” ตัวอย่างเช่น เครื่องมือการเลือก หรือเครื่องมือ Select key ต่างๆ
(ส่วนนี้มือใหม่อาจจะยังไม่เข้าใจ แต่ไม่ต้องห่วงครับเพราะเดี๋ยวเริ่มใช้งานคุณจะคุ้นเคยกับมันแน่นอน) - Effect – หมวดหมู่ที่รวบรวม Effect ต่างๆ สำหรับการใช้งานทุกรูปแบบเอาไว้ สำหรับใครที่เคยใช้งานโปรแกรม Photoshop น่าจะคุ้นเคยพวกคำสั่ง Effect พวกนี้ดีครับ คำสั่งต่างๆ ก็เหมือนกันด้วย
- View – หมวดหมู่ที่รวมเครื่องมือที่ใช้สำหรับมุมมองการาทำงานของเรา เช่น การวัดระยะ หรือการใช้ไม้บรรทัด เป็นต้น
- Window – คำสั่งในหมวด Window จะเป็นคำสั่งจำพวกการเปิดปิด หรือตั้งค่า Artwork (template)
- Help – เมนูช่วยเหลือ เป็นส่วนที่รวบรวมคำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้งานในด้านต่างๆ
แถบเครื่องมือ (Tools)
แถบเครื่องมือในส่วนนี้จัดว่าเป็นหัวใจหลักของการออกแบบ โดยแถบเครื่องมือจะเป็นส่วนที่เราจะได้ใช้งานกันบ่อยที่สุดเพราะมันจะรวมเครื่องมือทั้งหมดสำหรับที่เราจะใช้สำหรับการออกแบบในโปรแกรม Adobe illustrator สำหรับในส่วนนี้
ผมขอเกริ่นไว้เท่านี้ก่อนและเดี๋ยวจะมาลงรายละเอียดกันในบทต่อๆ ไปครับ
ชุดคำสั่งอื่นๆ (Panel)
ชุดคำสั่งทางด้านขวามือจะมีชุดคำสั่งต่างๆ (Panel) ที่เป็นเหมือนแผงควบคุมของเครื่องมือบางส่วนไว้ไว้ เช่น ตัวจัดการตัวอักษร, การจัดการ Layer เป็นต้น ซึ่งเราสามารถตั้งค่าหรือเลือกเครื่องมือที่มาแสดงได้
สำหรับเครื่องมือต่างๆ ก็น่าจะพอรู้จักกันบ้างแล้ว บางคนอาจจะยังจำได้ไม่หมดหรือมีบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจ ก็ไม่ต้องห่วงหรือมานั่งท่องจำเพราะเราอยากให้เข้าใจ Concept หรือหน้าที่คร่าวๆของมันก็พอครับโดยในบทถัดๆไปเมื่อเราได้ลองใช้จะเข้าใจพวกเครื่องมือนี้ได้เองอย่างแน่นอน
สามารถติดตามคอร์สเรียนกราฟฟิก หรือบทความออกแบบกราฟฟิกใหม่ๆ ได้ที่เว็บไซต์ของเรา