Who's Online

มี 44 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083 - 792 5426

Pork meatball ground round prosciutto. Sirloin bresaola ball tip shank tail porchetta pork boudin filet mignon flank jowl salami. Filet mignon bresaola pork boudin capicola prosciutto. Frankfurter chicken leberkas drumstick ball tip turducken rump spare ribs meatball. Tail salami pork loin ham. Drumstick flank porchetta, hamburger ham swine biltong chicken pancetta. Spare ribs prosciutto t-bone.

- John Doe

วิธีตรวจเช็ค อุปกรณ์ อะไหล่ คอมพิวเตอร์

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 
 
  แอมแปร์ : เป็นหน่วยของกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านโลหะตัวนำเหยียดตรงขนานกัน 2 เส้น มีความยาวมากๆ (อินฟินิตี้) โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่หน้าตัด โลหะตัวนำทั้งสองเส้นวางห่างกัน 1 เมตรในสุญญากาศ แรงที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะตัวนำทั้งสองมีค่าเท่ากับ 2x 10-7 นิวตัน ต่อความยาวของโลหะตัวนำ 1 เมตร  
  แอมแปร์-ชั่วโมง : เป็นหน่วยของปริมาณไฟฟ้า 36,000 คูลอมป์ โดย 1 แอมแปร์-ชั่วโมง คือ กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง  
  คูลอมป์ : เป็นหน่วยของประจุไฟฟ้า โดย 1 คูลอมป์ มีค่าเท่ากับ ปริมาณไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในเวลา 1 วินาที  
  ฟารัด : เป็นหน่วยของความจุ โดย 1 ฟารัด มีค่าเท่ากับความจุระหว่างแผ่นโลหะ 2 แผ่นที่มีความจุ 1 คูลอมป์ และมีความต่างศักย์ระหว่างแผ่น 1 โวลต์ ในการใช้งานส่วนใหญ่จะพบหน่วยเป็น ไมโครฟารัด , นาโนฟารัด และพิโกฟารัด  
  เฮนรี่ : เป็นหน่วยของความเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดย 1 เฮนรี่มีค่าเท่ากับ แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ที่เกิดขึ้นในขดลวดวงจรปิดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรและกระแสไฟฟ้านั้นเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ในอัตรา 1 แอมแปร์ต่อวินาที ในงานทั่วไปจะพบหน่วย ไมโครเฮนรี่ และมิลลิเฮนรี่  
  เฮิรตซ์ : เป็นหน่วยของความถี่หรือจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอซ้ำๆกันในเวลา 1 วินาที  
  จูล : เป็นหน่วยของพลังงาน ทั้งด้านพลังงานกลและพลังงานความร้อน พลังงาน 1 จูล คือ งานที่เกิดขึ้นจากการกระทำของแรง 1 นิวตัน เคลื่อนที่เป็นระยะทาง 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันกับแรงนั้น  
  โอห์ม : เป็นหน่วยของความต้านทาน โดย ความต้านทานขนาด 1 โอห์ม หมายถึง ความต้านทานที่ถูกป้อนด้วยแรงดันคงที่ ขนาด 1 โวลต์ แล้วเกิดกระแสขนาด 1 แอมป์ผ่านความต้านทานนั้น  
  โมห์ : เป็นหน่วยของความนำไฟฟ้า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ซีเมนส์" เป็นส่วนกลับของโอห์ม เช่น ความต้านทาน 4 โอห์ม เท่ากับ 0.25 ซีเมนต์ หรือ 0.25 โมห์  
  นิวตัน : เป็นหน่วยของแรง แรงขนาด 1 นิวตัน คือ แรงที่ทำให้ของหนัก 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่ง 1 เมตรต่อวินาที  
  เทสลา : เป็นหน่วยของความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก มีค่าเท่ากับ 1 เวเบอร์ต่อตารางเมตรของพื้นที่วงจร  
  โวลต์ : เป็นหน่วยของแรงดันไฟฟ้า แรงดัน 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับแรงดันของ 2 จุด ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 1 แอมแปร์ และมีกำลังไฟฟ้าเกิดขึ้นระหว่าง 2 จุดนั้น 1 วัตต์  
  โวลต์-แอมแปร์ : เป็นผลคูณของแรงดันเป็นโวลต์ (อาร์เอ็มเอส RMS ) กับกระแส (อาร์เอ็มเอส RMS)  
  วัตต์ : เป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า โดยกำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับพลังงาน 1 จูลต่อวินาที  
  กิโลวัตต์ : เท่ากับ 1,000 วัตต์  
  กิโลวัตต์-แอมแปร์ : เท่ากับ 1,000 โวลต์-แอมแปร์  
 

เวเบอร์ : เป็นหน่วยของเส้นแรงแม่เหล็ก โดยขนาด 1 เวเบอร์ หมายถึง เส้นแรงแม่เหล็กซึ่งเชื่อมโยงลวดตัวนำ 1 รอบ จะเกิดแรงดัน 1 โวลต์ ใน

 

   
 
ตัวนำหน้า
สัญลักกษณ์
คูณด้วย
Tera (เทรา) T 1012
Giga (กิกะ) G 109
Mega (เมกะ) M 106
Kilo (กิโล) k 103
Hecto (เฮกโต) h 102
Deka (เดคา) da 10
Deci (เดซิ) d 10-1
Ceti (เซนติ) c 10-2
Milli (มิลลิ) m 10-3
Micro (ไมโคร) µ 10-6
Nano (นาโน) n 10-9
Pico (พิโก) p 10-12
Femto (เฟมโต) f 10-15
Atto (แอตโต) a 10-18

 

 
       เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต้านกระแสไฟฟ้าให้ลดลง มี 2 ประเภท คือ แบบค่าคงที่และแบบปรับค่าได้ ส่วนใหญ่การบอกค่าตัวต้านทานมักดูที่แถบสี เนื่องจากมีขนาดเล็ก ไม่สามารถพิมพ์ค่าลงเป็นตัวเลขได้ การใช้แถบสีแสดงค่าจึงเป็นการอ่านค่า แบบมาตรฐานที่นิยมใช้ทั่วไป โดยกำหนดให้แถบสีที่อยู่ชิดด้านใดด้านหนึ่ง ของตัวต้านทานเป็นแถบที่ 1 แล้วจึงจำทำการอ่านค่าต่อไป โดยในตัวอย่างกำหนดให้แถบสีที่ 1 อยู่ทางซ้ายมือ เวลาอ่านจะไล่จากซ้ายไปขวา  
     
  การอ่านค่าสีตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี  
      การอ่านค่าสีตัวต้านทาน แบบ 4 แถบสี ให้อ่านจากซ้ายมาขวา เช่น "เหลือง ม่วง ส้ม ทอง" แถบสีที่ คือ สีเหลืองแทนด้วยเลข 4 แถบสีที่ 2 แทนด้วยเลข 7 แถบสีที่ 3 คือ ตัวคูณ ดังนั้น สีส้ม หมายถึง ตัวคูณ ×1000 และสีทองคือ ค่าความผิดพลาด ±5% ดังนั้นสามารถอ่านค่าความต้านทานได้ 47×1000 = 47,000 โอห์ม ±5% หรือ 47 กิโลโอห์ม ±5%  
     
  การอ่านค่าสีตัวความต้านทานแบบ 5 แถบสี  
      การอ่านค่าแบบ 5 แถบสี ให้อ่านไล่จากซ้ายมาขวา เช่น "เขียว น้ำตาล ดำ แดง น้ำตาล" สีเขียวคือ หลักแรกแทนด้วยเลข 5 สีน้ำตาลเป็นหลักที่สองแทนด้วยเลข 1 สีดำเป็นหลักที่สามแทนด้วยเลข 0 ต่อมาแถบสีของตัวคูณ สีแดง แทนด้วย ตัวคูณ × 100 และสีน้ำตาลสุดท้ายเป็นค่าความผิดพลาด แทนด้วย ±1% ดังนั้น ค่าที่อ่านได้คือ 510×100 = 51,000 โอห์ม ±1% หรือ 51 กิโลโอห์ม ±1%

หน่วยที่ใช้สำหรับตัวต้านทาน
การเทียบค่าสำหรับตัวต้านทาน
โอห์ม ใช้สัญลักษณ์ Ω 1,000 โอห์ม เท่ากับ 1 กิโลโอห์ม
กิโลโอห์ม ใช้สัญลักษณ์ kΩ 1,000 กิโลโอห์ม เท่ากับ 1 เมกะโอห์ม
เมกะโอห์ม ใช้สัญลักษณ์ MΩ  
 
     
  ตัวอย่าง ตารางรหัสสีมาตรฐาน EIA (EIA-RS-279) แบบ 4 แถบ  
 
สี
แถบ 1
แถบ 2
แถบ 3
(ตัวคูณ)
แถบ 4
(ค่าความผิดพลาด)
สัมประสิทธิอุณหภูมิ
ดำ 0 0 ×100    
น้ำตาล 1 1 ×101 ±1% (F) 100 ppm
แดง 2 2 ×102 ±2% (G) 50 ppm
ส้ม 3 3 ×103   15 ppm
เหลือง 4 4 ×104   25 ppm
เขียว 5 5 ×105 ±0.5% (D)  
น้ำเงิน 6 6 ×106 ±0.25% (C)  
ม่วง 7 7 ×107 ±0.1% (B)  
เทา 8 8 ×108 ±0.05% (A)  
ขาว 9 9 ×109    
ทอง     ×0.1 ±5% (J)  
เงิน     ×0.01 ±10% (K)  
ไม่มีสี       ±20% (M)  

หมายเหตุ: สีแดง ถึง สีม่วง คือ สีของสายรุ้ง โดย สีแดงเป็นสีที่มีพลังงานต่ำสุด และสีม่วงมีพลังงานสูงกว่า

 

About I-Comz

bcomz.com เป็นส่วนหนึ่งของงานซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ รามคำแหง ซึ่งมีประสบการณ์การซ่อมและการค้าขาย มากกว่า 10 ปี โดยมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งและช่องทางการขายปลีกที่สะดวกสบายสำหรับผู้บริโภคและมอบแพลตฟอร์มสำหรับผู้ค้าให้สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างง่ายดาย

Counter

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
117231
©2024 ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ All Rights Reserved. Designed By Becomz

Search