Who's Online

มี 11 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

เขียนโปรแกรมภาษาซีด้วย Turbo C

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เขียนโปรแกรมภาษาซีด้วย Turbo C

ขั้นที่ 1 ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดโปรแกรม TC เป็นลำดับแรก ผู้เขียนอนุมานว่าผู้อ่านไม่มีประสบการณ์ในการติดตั้ง TC ดังนั้นหากท่านสามารถติดตั้งได้เอง โปรดข้ามหัวข้อนี้ไป เพื่อเข้าสู่เนื้อหาที่ Advanced มากขึ้น เริ่มต้นโดยให้ผู้อ่านเปิดโปรแกรม Windows Explorerและคลิ๊กที่แถบ URL ด้านบน พิมพ์คำว่า http://www.sptc.ac.th/nprotech/articles/C0001/TC.zip ดังภาพต่อไปนี้

ขั้นที่ 2 เมื่อพิมพ์ URL ครบแล้วให้ท่านกด Enter หนึ่งครั้งเพื่อ Download File TC.zip ซึ่งจะปรากฎผลลัพธ์ดังนี้
- ถ้าท่านต้องการเปิดไฟล์ คลิ๊ก Open 
- ถ้าต้องการบันทึกไฟล์ คลิ๊ก Save 
- ถ้าต้องการยกเลิกการดาวน์โหลดคลิ๊ก Cancel
- ถ้าต้องการข้อมูลมากกว่านี้ คลิ๊ก More Info

ขั้นที่ 3 เลือก Save และคลิ๊กลูกศรชี้ลง ตลอดจนเลือก ไดวร์ C: ดังภาพต่อไปนี้
ผู้เขียนต้องการให้ท่านเลือกไดเร็คทอรี่เพื่อเก็บไฟล์เอาไว้ที่ C:\ เพราะว่าภายในโปรแกรมดังกล่าวนี้ ได้ทำการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการคอมไพล์ไว้ในไดเร็คทอรี่ C:\TC ดังนั้น หากท่านขยายไฟล์ผิดตำแหน่ง จะทำให้ไม่สามารถคอมไพล์ได้ วิธีแก้ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนที่เมนู Directory ให้ตรงกับไดเร็คทอรี่ที่ท่านได้เก็บไฟล์ไว้ยังตำแหน่งที่ท่านต้องการ แต่ถ้าท่าน ทำตามวิธีที่ผู้เขียนแนะนำ ท่านไม่ต้องทำการปรับแก้ค่าตัวเลือกใด ๆ ผู้เขียนจะกล่าวถึงรายละเอียดส่วนนี้ในบทต่อ ๆ ไป ตอนนี้ต้องการให้ผู้อ่านสามารถคอมไพล์โค๊ดภาษาซีได้เท่านั้น ดังนั้นท่านควรปฏิบัติตามแนวทาง ที่ได้แสดงเอาไว้ในบทความชุดนี้อย่างเคร่งครัด เว้นเสียแต่ท่านเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนกำลังอธิบายนี้แล้ว จึงสามารถดูผ่าน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 4 เริ่มต้นการดาวน์โหลด ภาพด้านล่างนี้ แสดงการดาวน์โหลดไฟล์ ขณะนี้ เครื่องที่ผู้เขียนใช้งานอยู่บนระบบ LAN จึงสามารถโหลดไฟล์ดังกล่าวด้วยความเร็วสูงกว่าการโหลดด้วย Modem ธรรมดา สังเกตที่อัตราการ Transfer rate ที่ 31.0KB/Sec หากเป็นโมเดมธรรมดาจะอยู่ที่ประมาณ 5 KB/Sec

ขั้นที่ 5 เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วคลาย Zip ไฟล์ TC.zip ที่โหลดมาแล้วด้วยการคลิ๊กขวา ดังภาพต่อไปนี้
สังเกตว่าไฟล์ที่เราโหลดมานั้นมีชื่อว่า TC.zip ผู้เขียนต้องการให้ท่าน Save เอาไว้ที่ไดรว์ C:\ และคลาย Zip ออกไปไว้ที่โฟล์เดอร์ C:\TC

ขั้นที่ 6 ดับเบิ้ลคลิ๊กโฟลเดอร์ C:\TC ไฟล์ที่คลาย Zip เรียบร้อยแล้วจะเก็บไว้ที่โฟล์เดอร์ C:\TC และภายในไดเร็คทอรี่ดังกล่าวจะประกอบด้วยโฟล์เดอร์ C:\TC\INCLUDE และ C:\TC\LIB รายละเอียดส่วนนี้จะกล่าวถึงอีกครั้งในบทหลัง ๆ แต่ตอนนี้ให้ท่านเข้าใจเพียงว่า ภายในโฟล์เดอร์ ทั้งสองจะเก็บไฟล์ ที่มีนามสกุล .H และ .LIB เอาไว้ในโฟล์เดอร์ทั้งสองตามลำดับ

ขั้นที่ 7 เรียกให้ Turbo C ทำงานโดยคลิ๊กที่ไฟล์ TC ดังภาพต่อไปนี้ ความจริงในขั้นตอนนี้ผู้อ่านสามารถคลิ๊ก Start > Run และพิมพ์คำว่า C:\TC\TC.EXE จากนั้นกดแป้น Enter ซึ่งจะให้ผลเช่นเดียวกับขั้นตอนนี้ กล่าวคือเรียกให้ Turbo C ทำงานและพร้อมจะเขียนโปรแกรมและคอมไพล์ต่อไป

ขั้นที่ 8 เมื่อไฟล์ TC.EXE ถูกเรียกให้ทำงานจะปรากฎผลลัพธ์ดังนี้ ภาพด้านล่างนี้เป็นหน้าจอของโปรแกรม TC ถ้าผู้อ่านต้องการให้โปรแกรมแสดงผลเต็มจอ สามารถกดแป้น Alt + Enter (กด Alt ค้างไว้ แล้วตามด้วย Enter หนึ่งครั้ง) จะเป็นการสลับไปมาระหว่างโหมด Full Screen กับโหมด Windows และในทำนองเดียวกัน ถ้าต้องการสลับกลับมายังโหมดวินโดวส์ธรรมดา ให้กด Alt + Enter ได้เช่นเดียวกัน

ขั้นที่ 9 พิมพ์โค๊ดภาษาซี ในขั้นตอนนี้ผู้อ่านจะต้องกด Esc ซ้ำ ๆ สักสองสามครั้งเพราะว่า กำลังอยู่ในสถานะการเลือกเมนู การกด Esc จะทำให้กลับมายังจอภาพที่ใช้ในการแก้ไขโค๊ด จากนั้นผู้อ่านจึงเริ่มต้นพิมพ์โค๊ด ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

ขั้นที่ 10 ทำการคอมไพล์ด้วยการกด Alt + R แล้วกด Enter หนึ่งครั้ง ขั้นตอนนี้อาจจะกด Ctrl + F9 จะปรากฎผลเช่นเดียวกัน ในขั้นตอนนี้เรายังไม่ได้บันทึกไฟล์เป็น Helloworld.c ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จะสร้างไฟล์ชื่อว่า noname.exe ซึ่งก็จะให้ผลลัพธ์อันเดียวกัน ขั้นตอนต่อไปจะแสดงการบันทึกแฟ้มข้อมูล

ขั้นที่ 11 ออกจากโปรแกรม TC โดยการกด Alt + Q หรือกด Alt + F และเลื่อนลูกศรมาที่ Quit ให้ผลเช่นเดียวกัน เนื่องจากเรายังไม่ได้บันทึกแฟ้มข้อมูล เมื่อทำการออกจากโปรแกรม คอมไพล์เลอร์จะถามว่าต้องการบันทึกซอร์สโค๊ดหรือไม่ ให้ตอบตามความต้องการของท่าน ในกรณีตัวอย่างนี้เราจะบันทึกไฟล์เก็บไว้ในชื่อ helloworld.c

ขั้นที่ 12 ก่อนที่จะจบการทำงานโปรแกรมภาษาจะถามเราเกี่ยวกับการบันทึกไฟล์ ถ้าปรารถนาจะบันทึกให้กด Yes อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในขั้นตอนนี้ ผู้อ่านจะบันทึกหรือไม่บันทึกขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง แต่บทความนี้สำหรับผู้เริ่มต้น เราจะบันทึกไฟล์ชื่อ helloworld.c ดังนั้นกด Y เพื่อบอกคอมไพล์เลอร์ว่า เราต้องการบันทึกซอรส์โค๊ด

ขั้นที่ 13 ตั้งชื่อไฟล์ว่า helloworld.c จากนั้นกดแป้น Enter หนึ่งครั้ง เนื่องจาก TurboC 2.0 สนับสนุนการตั้งชื่อไฟล์ระบบเก่า คือตั้งได้ 8ตัว และนามสกุล 3 ตัว ดังนั้น จะเกิดการตัดคำอัตโนมัติให้เหลือเพียงคำว่า hellowor.c แทนที่จะเป็น helloworld.c

ขั้นที่ 14 ในขั้นตอนที่ผ่านมาเราได้คอมไพล์โค๊ดภาษาซีเสร็จแล้วต่อไปต้องการรันโค๊ดใน DOS Prompt ขอให้ท่านเลือก Start > Run ในขั้นตอนนี้ท่านผู้อ่านสามารถคลิ๊ก Start > Run และพิมพ์คำว่า C:\TC\noname.exe ซึ่งจะให้ผลเร็ว และจะปิดวินโดวส์ไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงควรจะออกไปที่ DOS Prompt ด้วยการพิมพ์คำสั่ง Start > Run และพิมพ์ CMD ซึ่งคำสั่ง CMD จะมีสำหรับวินโดวส์ NT และ 2000 และ XP เท่านั้น ไม่สามารถใช้คำสั่ง CMD ในวินโดวส์ที่ต่ำกว่าที่กล่าวมาได้ ดังนั้นถ้าเป็นระบบปฏิบัติการตัวเก่า ท่านต้องเปลี่ยนมาพิมพ์คำว่า Command เต็ม ๆ แทนคำว่า CMD

ขั้นที่ 15 พิมพ์คำสั่ง cmd เพื่อไปยัง Dos Prompt ดังที่ได้กล่าวไปแล้วคำสั่ง CMD ใช้ได้เฉพาะใน NT, 2000 และ XP เท่านั้น ถ้าจะให้ทำงานได้ในระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าต้องพิมพ์คำว่า Command แทน CMD

ขั้นที่ 16 ได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ คำสั่ง CMD จะเป็นโปรแกรมที่บอกให้ระบบปฏิบัติการรับคำสั่ง DOS เหมือนในระบบเดิม เพียงแต่ว่า CMDต่างจาก Command ตรงที่เราสามารถใช้ลูกเล่นต่าง ๆ ได้ เช่นใช้คำสั่ง cd \win* ซึ่งจะหมายถึงเข้าไปในไดเร็คทอรี่อะไรก็ได้ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า win เป็นต้น ซึ่งแท้จริงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Command ให้ดีขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้น CMD ยังสามารถ ใช้เมาส์ลากตัวอักษรบริเวณที่เราต้องการแล้วคลิ๊กขวา เพื่อคัดลอกข้อความนั้นเอาไปยังคลิปบอร์ด ได้อีกด้วย หรือถ้าคลิ๊กลงบนพื้นที่ Console ก็จะหมายถึงการวางข้อความที่อยู่ในคลิปบอร์ดลงในพื้นที่ Console เป็นต้น รายละเอียดส่วนนี้ศึกษาได้จากคู่มือการใช้งานคำสั่ง CMD ใน Online Help ของวินโดวส์

ขั้นที่ 17 พิมพ์คำสั่ง cd \tc เพื่อเข้าไปยังไดเร็คทอรี่ TC จากนั้นพิมพ์คำว่า HELLOWOR.EXE เนื่องจาก TC2.0 สนับสนุนการตั้งชื่อไฟล์เพียง 8 ตัว ดังนั้นจะมีชื่อเพียง HELLOWOR เท่านั้น ผลลัพธ์ของการ Execute จะให้ผลคือคำว่า Hello World ปรากฎบนจอภาพคอมพิวเตอร์

ขั้นที่ 18 ผลลัพธ์ของการคอมไพล์จะปรากฎคำว่า Hello World ปรากฎบนจอภาพคอมพิวเตอร์ ขอให้ ท่านผู้อ่านระลึกไว้ว่า ขณะนี้เรากำลังเรียนรู้ตัวอย่างการคอมไพล์ด้วย Turbo Cในหัวข้อต่อไป เราจะศึกษาเกี่ยวกับการคอมไพล์ภาษาซีด้วยไมโครซอฟต์วิชวลซีพลัส ๆ (Visual C++)

About I-Comz

bcomz.com เป็นส่วนหนึ่งของงานซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ รามคำแหง ซึ่งมีประสบการณ์การซ่อมและการค้าขาย มากกว่า 10 ปี โดยมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งและช่องทางการขายปลีกที่สะดวกสบายสำหรับผู้บริโภคและมอบแพลตฟอร์มสำหรับผู้ค้าให้สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างง่ายดาย

Counter

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
117158
©2024 ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ All Rights Reserved. Designed By Becomz

Search