ประกัน 3 เดือน
สินค้าใหม่
ซ่อมเมนบอร์ด Notebook อาการเปิดไม่ติด ,ปิดติดไม่มีภาพ, ไฟไม่เข้า, เปิดติดแล้วซักพักดับ
ปล.การทำดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการ Backup ข้อมูลลูกค้า รบกวนสำรองข้อมูล ก่อนเรียกใช้บริการ ทางเราขอสงวนสิทธ์ไม่รับผิดชอบเรื่องข้อมูลลูกค้าทุกกรณี
99 รายการ รายการ
In stock
คำเตือน: สินค้าชิ้นสุดท้ายในร้าน!
วันที่สินค้าจะเข้า
ซ่อมเมนบอร์ด NOTEBOOK , ALL IN ONE COMPUTER อาการเปิดไม่ติด ,ปิดติดไม่มีภาพ, ไฟไม่เข้า กรณีซ่อมโดยมีการเปลี่ยนอะไหล่
ซ่อมเมนบอร์ด Notebook อาการเปิดไม่ติด ,ปิดติดไม่มีภาพ, ไฟไม่เข้า, เปิดติดแล้วซักพักดับ
ปล.การทำดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการ Backup ข้อมูลลูกค้า รบกวนสำรองข้อมูล ก่อนเรียกใช้บริการ ทางเราขอสงวนสิทธ์ไม่รับผิดชอบเรื่องข้อมูลลูกค้าทุกกรณี
ผู้รับ: :
* ฟิลด์ที่จำเป็น
หรือ ยกเลิก
อาการ ที่ว่านี้ก็คือ ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง
การสังเกตุ จากไฟสแตนบาย (Stand by) ถ้าติดอยู่ในขณะที่เสียบอะแดปเตอร์ แสดงว่าไฟจ่ายแล้ว
ในเครื่องที่มีไฟสถานะ Standby อยู่ ก็จะไม่มีสถานะไฟติดให้เห็นนะครับ
และสำหรับเครื่องที่ไม่มีไฟ Standby ก็จะยิ่งไม่ทราบใหญ่
การสังเกตุ จากไฟชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าติด แสดงว่า ไฟจากอะแดปเตอร์จ่ายแล้ว
ถ้าเพื่อนๆได้เสียบแบตเตอรีเข้าเครื่องไว้ โดยไม่ได้เสียบไฟจากอะแดปเตอร์ ก็จะไม่เห็นสถานการทำงานของการชาร์จเกิดขึ้นครับ จนกว่าจะมีการเสียบไฟจากอะแดปเตอร์เข้าไปยังตัวโน๊ตบุ๊ค ไฟสถานะชาร์จก็จะติดสว่างขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้ทราบว่า ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้วนั่นเองครับ
การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลด(load)ของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆนะครับ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรช้อตนั่นเอง
ตามปรกติไฟสถานะของอะแดปเตอร์(หากมี) จะติดสว่างนิ่งอยู่ แต่ถ้าเห็นว่ามีการกระพริบเกิดขึ้นในขณะที่เราได้เสียบขั้ว DC Jack เข้าสู่โน๊ตบุ๊ค นั่นย่อมทำให้เราได้ทราบว่า มีการช้อตไฟจากแหล่งจ่ายลงกราด์ทั้งหมด ทำให้ไฟไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ครับ เราก็ต้องหาตัวช้อตในวงจรให้เจอ และยกออก เปลี่ยนใหม่ ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ เพียงแต่ว่า เราจะเจอตัวเสียตรงไหนหละครับ
วิธีการตรวจซ่อมอาการไฟไม่จ่ายเข้าเครื่องกันครับ
กาตรวจเช็คกรณีที่ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง แต่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบ
เราทราบดีแล้วจากบทความที่ได้กล่าวๆกันไว้ ว่ากรณีที่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากไฟจากแหล่งจ่ายช้อตลงกราวด์ของวงจร ไฟจากแหล่งจ่ายก็คือไฟจากอะแดปเตอร์นั่นเอง กรณีนี้ จะว่าง่ายก็ได้ จะว่ายากก็ได้ เพราะถ้าไม่เจอตัวช้อตตรงๆตามที่เราตรวจเห็น ก็จะทำให้เราหามันไม่เจอ ซึ่งยากแก่การซ่อมมากๆครับ
จุดในการตรวจสอบเบื้องต้น
กลุ่มของ C อิเล็คโตรไลท์ ในส่วน Filter ไฟแหล่งจ่ายหลัก ซึ่งเพื่อนๆจะมองหาได้ง่ายๆ ก็อยู่แถวด้านหลังของ DC Jack ประมาณนั้นใน ซึ่งตรงนี้ผมคงได้เพียงแต่พูดได้ประมาณนี้ เพราะในแต่ละรุ่นนั้น ก็จะมีการวางวงจรไว้แตกต่างกัน? แต่ในหลักการออกแบบวงจร ก็จะคล้ายๆ กัน ก็คือ ต้องมีกลุ่ม C Filter อย่างแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็น C ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก SMD ก็ต้องตั้งมิเตอร์? RX1 วัดสลับขั้วสาย และถ้าจะให้ดูชัดเจนขึ้น เมื่อพบว่าตัวใด วัดแล้วเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลทั้งสองครั้งในการวัด ก็ให้เพื่อนๆ ทำการถอด หรือลอยขาของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นนั้นครับ แล้ว เอาสายมิเตอร์วัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดว่า เข็มมิเตอร์ยังตีสุดสเกลทั้งสองครั้งอยู่อีกหรือเปล่า ถ้าไม่แล้ว ก็ให้เพื่อนๆ วัดที่ตัวอุปกรณ์ที่ถอดลอยไว้ ว่าเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลหรือไม่ ถ้าขึ้นทั้งสองครั้งก็แสดงว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นช้อตแน่นอน (ถ้าเป็น C ,D,Tr,MosFet) แต่ก้าการวัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดยั้งทำให้เข็มของมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลอยู่เหมือนเดิม เพื่อนๆ ก็ต้องวัดหาตัวเสีย ช้อต กันต่อไปให้เจอนะครับ (อันนี้เป็นวิธีการแบบแรก)
อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ (ตรวจเช็คในส่วนเมนบอร์ด)
ขั้นตอนปฏิบัติ
นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว ออกมาหาที่วางนุ่มๆ? อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ
ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป
เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ
นอกจากจากที่ได้กล่าวถึงนี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW ,Battery,Keyboard,Touch Pad และอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาพแต่ประการใดครับ
เมื่อปฏิบัติตามสามข้อข้างต้นแล้ว ก็ขอให้เพื่อนๆทำการเสียบขั้วไฟจาก Adaptor สำหรับโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆนะครับจากนั้นกดปุ่มสวิชท์ Power On ตอนนี้ไฟก็จะจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ? พัดลมของ CPU อาจจะหมุน? หรือยังไม่หมุน? หรือหมุนสักพักแล้วหยุดลง อันนี้ก็แล้วแต่โน๊ตบุ๊คในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นนะครับ
รอประมาณ 10 วินาที เพื่อดูว่าได้ภาพหรือไม่
ตาคอยสังเกตุภาพที่จอที่เราต่อพ่วงไว้ หรืิออาจจะลุ้น โดยการดูที่ไฟสถานะของจอภาพ (ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีภาพนั้นจะเป็นอีกสีนึง เช่น อาจเป็นน้ำเงิน หรือส้ม ซึ่งอาจกระพริบอยู่ก็ได้นะครับ? แต่เมื่อมีภาพก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว นิ่ง
ปรากฏว่าก็ยังไม่ได้ภาพอีกเหมือนเดิม จะทำยังไงกันต่อดี…
พอถึงตรงนี้ เราก็พอจะมั่นใจได้แล้วนะครับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มันอยู่แต่ในเมนบอร์ดอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเพื่อนๆ ได้ทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปแล้ว (ตามที่ผมได้พูดไว้ใน ตอนที่1)
ขั้นตอนการตรวจเช็คในวงจร
รูปด้านบนนี้ ผมนำมาให้เพื่อนๆดู ก็เพื่อให้ทราบถึงขาในตำแหน่งต่างๆ ของ ROM BIOS (ตามรูปด้านบน เป็นแบบ TSOP ) ผมกำลังจะให้เพื่อนๆทราบว่า ในเวลาที่เราจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องแต่ยังไม่ได้ออนเครื่อง(กดปุ่ม Power On) นั้น เราสามารถใช้สโคป จับไปที่ขาสัญญาณ (Clk) ตัวถังแบบ TSOP จะมี Clk ที่ขา 7 เราจะเห็นรูปสัญญาณ เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า เราพร้อมที่จะสั่งออนเครื่องได้แล้ว แต่ถ้าไม่มี(ในบางรุ่น) ก็อาจเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถกด Power Sw เพื่อให้เครื่องทำงานได้นั่นเอง ***เป็นความเข้าใจของผู้จัดทำที่ตรวจซ่อมเครื่องและได้เก็บเป็นข้อมูลไว้นะครับ***
ตัวถังแบบ PLCC ขา Clk จะอยู่ที่ขา 31
ตัวถังแบบ SOic 8 ขา Clk จะอยู่ที่ขา 2
ให้ทำการกดปุ่ม Switch Power On เพื่อให้ไฟจ่ายในระบบ?? จากนั้น
ให้ทำการวัดไฟที่ตำแหน่งขั้วแบตเตอรี่ ว่ามีไฟเลี้ยงที่ประมาณ 3.3 โวลท์บ้างหรือไม่ (ควรมีมา)
ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ขาไฟของไบออส รอม (เช่นหากเป็นแบบ SO-IC8 ก็ตรวจวัดที่ขา 8 )ควรมีไฟมาเีลี้ยง 3.3 V.
ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐานแรม ควรมีไฟเลี้ยงประมาณ 1.5 , 1.8 , 2.5 , หรือ 3.3 V. ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแรมในเมนบอร์ดนั้นๆ ครับ
ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐาน CPU ว่าควรมีไฟมาเลี้ยงประมาณ 1.XX V. หรืออาจต่ำกว่า 1.xx ไม่มาก ก็ไม่ถือว่าผิดปรกติ (ดังรูปด้านล่างนี้ผมได้จับแรงไฟซีพียูให้เพื่อนๆดว่า จริงๆแล้ว ซีพียูแต่ละตัว ต่างสเป็คกัน แรงไฟ อาจแตกต่างกันไปนะครับ
ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 33 MHz ที่ ที่อยู่ใกล้กับ Multi IO
ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 14.3 MHz ที่ Cystal 14.3 ของ Clock Gen(เมื่อระบบไฟมีการจ่ายในเมนบอร์ดแล้ว)
*หากตกลงซ่อมคอมพิวเตอร์ มีอะไหล่เสียต้องเปลี่ยนอะไหล่ ไม่สามารถคืนสินค้าได้ หากยืนยันการซ่อมแล้ว
กฎหมายของผู้ขายสินค้า
1. ผู้ขายสินค้ามีหน้าที่และความรับผิด คือต้องส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อตามข้อตกลงในสัญญา และเมื่อมีการส่งมอบสำเร็จแล้ว โดยทรัพย์สินไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ แล้วผู้ซื้อต้องชำระราคาตามข้อตกลงในสัญญา
2. คู่สัญญาต้องรับผิดตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญา กล่าวคือ เมื่อสัญญาซื้อขายมีข้อตกลงว่าจะไม่รับคืนสินค้า มีผลผูกพันผู้ซื้อจะต้องปฏิบัติตาม เนื่องจากข้อสัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อจึงไม่สามารถคืนสินค้าได้และต้องชำระราคาให้กับผู้ขาย
3. การที่ผู้ซื้อคืนสินค้า และไม่ยอมชำระค่าสินค้าจึงเป็นการผิดนัดและผิดสัญญาซื้อขาย ผู้ขายมีสิทธิฟ้องร้องเรียกราคาสินค้า และดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่ตกลงกัน
4. การยึดหน่วงราคา ผู้ซื้อจะไม่ชำระราคาหรือยึดหน่วงราคาที่ยังมิได้ชำระ ต้องเป็นกรณีผู้ขายส่งของไม่เป็นไปตามข้อตกลงหรือชำรุดบกพร่อง เท่านั้น
5. การคืนสินค้า จะทำได้ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าส่งมอบสินค้าไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือสินค้าชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้งานได้ สินค้าอันตราย สินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน สินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามกฎหมายเท่านั้น
6. สัญญาที่เป็นการเอาเปรียบและเป็นการเพิ่มภาระเกินควรให้กับคู่สัญญา คู่สัญญามีสิทธิร้องต่อศาล เพื่อขอให้ยกเลิกข้อสัญญาได้ หรือคู่สัญญาอาจร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ช่วยดำเนินการกำหนดให้สัญญาที่ทำกับโมเดิร์นเทรด เป็นสัญญาที่ควบคุมก็ได้ เหมือนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 461 ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อ
มาตรา 462 การส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ
มาตรา 486 ผู้ซื้อจำต้องรับมอบทรัพย์สินที่ตนได้รับซื้อและใช้ราคาตามข้อสัญญาซื้อขาย
มาตรา 488 ถ้าผู้ซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งตนได้รับซื้อ ผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระไว้ได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เว้นแต่ผู้ขายจะหาประกันที่สมควรให้ได้