จานดาวเทียม หรือจานรับสัญญาณดาวเทียมหมายถึง สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ลอยอยู่ในอวกาศและส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโลก โดยทั่วไปมักมีรูปทรงเป็นรูปจานโค้งแบบพาราโบลา เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นผิวสำหรับของจานรับสัญญาณสามารถเป็นได้ทั้งพื้นผิวแบบทึบ และพื้นผิวแบบโปร่ง ซึ...
จานดาวเทียม หรือจานรับสัญญาณดาวเทียมหมายถึง สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ลอยอยู่ในอวกาศและส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโลก โดยทั่วไปมักมีรูปทรงเป็นรูปจานโค้งแบบพาราโบลา เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นผิวสำหรับของจานรับสัญญาณสามารถเป็นได้ทั้งพื้นผิวแบบทึบ และพื้นผิวแบบโปร่ง ซึ่งพื้นผิวแบบทึบลมจะไม่สามารถผ่านได้จึงต้านลมมากกว่าแบบโปร่ง
ขนาดของจานรับสัญญาณดาวเทียมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองประการ
ถ้าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจากดาวเทียมกับสัญญาณรบกวนมีค่ามากเท่าใด ขนาดของจานก็จะเล็กมากเท่านั้น สัญญาณรบกวนมีที่มาได้ 3 ทางหลัก ๆ คือ
โดยปกติแล้วกำลังสัญญาณจากดาวเทียมจะมีค่าต่ำมาก จึงต้องได้รับการขยายสัญญาณจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอลเอ็นบี (LNB) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจานดาวเทียมหลากหลายยี่ห้อ เช่น ไทยแซท ไอเดียแซท เคเอสทีวี พีเอสไอ ไอพีเอ็ม ดีทีวี จีเอ็มเอ็มแซท ลีโอเทค คิวแซท ทรูวิชั่น ซีทีเอช ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบบ Free To Air และแบบบอกรับสมาชิก
หมวดย่อย
จานดาวเทียม หรือจานรับสัญญาณดาวเทียมหมายถึง สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ลอยอยู่ในอวกาศและส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโลก โดยทั่วไปมักมีรูปทรงเป็นรูปจานโค้งแบบพาราโบลา เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นผิวสำหรับของจานรับสัญญาณสามารถเป็นได้ทั้งพื้นผิวแบบทึบ และพื้นผิวแบบโปร่ง ซึ่งพื้นผิวแบบทึบลมจะไม่สามารถผ่านได้จึงต้านลมมากกว่าแบบโปร่ง
ขนาดของจานรับสัญญาณดาวเทียมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองประการ
ขนาดของสัญญาณที่รับมาจากดาวเทียม
ขนาดของสัญญาณรบกวน
ถ้าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจากดาวเทียมกับสัญญาณรบกวนมีค่ามากเท่าใด ขนาดของจานก็จะเล็กมากเท่านั้น สัญญาณรบกวนมีที่มาได้ 3 ทางหลัก ๆ คือ
สัญญาณจากฟากฟ้า
สัญญาณจากพื้นโลกที่มาจากธรรมชาติ
สัญญาณจากพื้นโลกที่มิใช่จากธรรมชาติ (เกิดจากมนุษย์)
โดยปกติแล้วกำลังสัญญาณจากดาวเทียมจะมีค่าต่ำมาก จึงต้องได้รับการขยายสัญญาณจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอลเอ็นบี (LNB) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจานดาวเทียมหลากหลายยี่ห้อ เช่น พีเอสไอ ไอพีเอ็ม ดีทีวี จีเอ็มเอ็มแซท ไทยแซท ไอเดียแซท ลีโอเทค คิวแซท ทรูวิชั่น ซีทีเอช ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบบ Free To Air และแบบบอกรับสมาชิก
ระบบจานรับสัญญาณดาวเทียม (ข้อมูลเบื้องต้นประวัติจานดาวเทียม จานดาวเทียม)
จานดาวเทียมแบบฟิกซ์ (รับดาวเทียมดวงเดียว)
จานดาวเทียมระบบ KU-Band
จานดาวเทียมระบบ C-Band
จานดาวเทียมระบบ C/KU-Band
จานดาวเทียมแบบมูฟ (รับดาวเทียมได้หลายดวง)
จานดาวเทียมแบบมูฟ ระบบ C-Band
จานดาวเทียมแบบมูฟ ระบบ C/KU-Band
จานดาวเทียมระบบ C-Band
จานดาวเทียมลักษณะโปร่งคล้ายตะแกรงอลูมิเนียมชุบดำหรือที่เรียกว่าจานดำ C-Bandจะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเซีย และยุโรปบางส่วน ข้อดี การเพิ่มจุดรับชมสามารถทำได้ง่ายเนื่องจากรีซีฟเวอร์ระบบราคาไม่แพง ติดตั้งครั้งเดียวจบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน เพราะเป็นช่องฟรีทีวี ข้อเสีย ขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง
จานดาวเทียมระบบ KU-Band
จานสี KU-Band ก็คือ จานดาวเทียมอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะทึบ โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 35 cm., 60 cm. และ 75 cm.จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ ข้อดี มีขนาดเล็กติดตั้งง่ายใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย รายการช่องจะมีมาก และจะมีการผลิตช่องรายการเพิ่มอยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนย้ายจารดาวเทียมทำได้ง่าย ข้อเสีย ไม่สามารถรับชมรายการได้ในขณะที่ฝนตกหนักหรือขณะที่ท้องฟ้าครื้มมากๆ
ความแตกต่างระหว่าง C-Band กับ KU-Band
สัญญาณที่ส่งลงมา จากดาวเทียมที่สามารถรับในประเทศไทย ปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ C-Band และ KU-Band ระบบ C-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นกว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้ แต่เนื่องจากสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว้าง ความเข้มสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟุต รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด (รายการส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวีของแต่ละประเทศ และส่วนมากสามารถรับชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ) ระบบ KU-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 10-12 GHz สัญญาณที่ส่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย ใช้กับการส่งสัญญาณภายในประเทศ ส่วนใหญ่ใช้กับระบบการให้บริการ เคเบิ้ลทีวี ภายในประเทศ ความเข้มสัญญาณจะสูง จึงใช้จานขนาดเล็ก 35-75 ซม. เช่น UBC (การรับทีวีผ่านดาวเทียมในระบบ KU-Band ส่วนใหญ่ต้องสมัครสมาชิกจึงจะรับชมได้)
ความเข้มของสัญญาณในการส่ง C-Band จะเบากว่า Ku-Band เป็นเหตุผลในทางเทคนิค ตามข้อที่ 2
พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ C-Band จะใช้งานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างขวางทั่วทั้งทวีป แต่ระบบ Ku-Band จะใช้เพื่อครอบคลุมพื้นที่เฉพาะในประเทศ ในทางเทคนิคต้องส่งสัญญาณ C-Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku-Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกันได้
ลักษณะของใบจานรับสัญญาณ C-Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบ ทรงกลม ขึ้นรูปพาราโบลิค ขนาดทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 - 10 ฟุต ส่วน Ku-Band จะเป็นจานทึบ Offset รูปไข่ ขนาด 0.35 - 1.80 เมตร
ขนาดของจานรับสัญญาณดาวเทียม จากเหตุผลข้อที่ 1 ทำให้ระบบ Ku-Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า C-Band ค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น UBC จะใช้ใบจาน offset ขนาด 35 - 75 ซม. ก็สามารถรับสัญญาณได้ดี ในขณะที่ระบบ C-Band ต้องใช้จานขนาดใหญ่กว่าถึง 2-3 เท่า เพื่อให้รับสัญญาณได้ดี
ลักษณะของแผ่นสะท้อนของใบจาน ระบบ Ku-Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี ในขณะที่ C-Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ จาน C-Band จานแบบทึบมีให้เห็นบ้างแต่น้อยมาก และไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากน้ำหนักมาก และต้านลม แล้วถ้าหากว่า จะใช้จานแบบ C-Band รับสัญญาณระบบ Ku-Band ได้มั้ย ตอบว่าได้แต่ในทางกลับกันจะเอาจาน Ku-Band มารับสัญญาณ C-Band ไม่ได้ นอกจากจะใช้จานขนาดใหญ่จริง ๆ
หัวรับสัญญาณ ซึ่งในทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้ตำลงมาจนเหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับสัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C-band จะรองรับความถี่ 3.4-4.2 GHz ในขณะที่ Ku-Band รองรับความถี่ 10-12 GHz จึงใช้แทนกันไม่ได้ อาจมีบางรุ่นที่ทำแบบ 2 in 1 คือ เอาหัว 2 ระบบบรรจุไว้ใน Case เดียวกัน
เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนอกจากผู้ผลิตจะเจตนาให้ตัวเครื่องรับได้เฉพาะระบบ เช่น เครื่องรับสัญญาณของ UBC จะไม่สามรถนำมาใช้รับสัญญาณระบบ C-Band ได้ โดยทั่วไปเครื่องรับสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ เพียงตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
ข้อควรรู้เพิ่มเติม คือ ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูง ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพิ่มขนาดใบจานอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าฝนตกหนัก เมฆหนาทึบ จะรับสัญญาณไม่ได้ ในขณะที่ C-Band จะเหนือกว่าตรงที่ไม่มีปัญหาขณะฝนตก
รับติดตั้งติดตั้งจานดาวเทียม ชุดจานดาวเทียม PSI, GMMZ, True รับชมรายการได้กว่า 200 ช่อง รับติดตั้งเสาทีวีดิจิตอล สัญญาณแรง คุณภาพสูง ต่อได้หลายจุด ภาพชัด
รับ ซ่อม แก้ไขสัญญาณภาพ จานเคลื่อน เพิ่มจุด ย้ายจาน เดินสาย ซ่อมสาย หัวรับขาด แก้ไขได้ทุกอาการ ไม่หายไม่คิดตังค์ ติดตั้งจานดาวเทียม ติดตั้ง+ซ่อม+ย้าย +เพิ่มจุด ได้ทุกจาน